คะมะคุระ

images

 

คำว่า คะมะคุระ คือ ชื่อเมืองหลวงยุคแรกของการปกครองโชกุนมินาโมะโตะ

เมืองคะมะคุระ เป็นการการปกครองโดยโชกุนอย่างเต็มรูปแบบ ชัยชนะของตระกูลมินะโมะโตะแสดงถึงความเสื่อมของบัลลังก์อำนาจทางการเมืองของจักรพรรดิอย่างแท้จริง และเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองโดยระบอบศักดินา ยุคกลาง ของญี่ปุ่นภายใต้การปกครองของโชกุนหรือผู้ปกครองทางการทหารที่สืบต่อกันมาอีก 700 ปี

images (1)

ปี พ.ศ. 1735 (ค.ศ. 1192) โยะริโตะโมะ หัวหน้าตระกูลมินะโมะโตะที่เป็นผู้ชนะสงครามได้สถาปนาระบบโชกุน หรือรัฐบาลทหารขึ้น ที่เมืองคะมะกุระใกล้กับนครหลวงโตเกียวในปัจจุบัน ในยุคนี้มีการยึดอำนาจบริหารบางประการที่เคยเป็นอำนาจของจักรพรรดิในกรุงเกียวโตะ เพื่อต้านสิ่งที่ถือว่าเป็นความเสื่อมของเกียวโตะที่ได้ฝักใฝ่ในสันติภาพ

 

  • เหตุผลที่โชกุนมีอำนาจเหนือจักรพรรดิ

สาเหตุมาจาก โชกุนที่เมืองคะมะคุระได้สนับสนุนความประหยัดอดออมและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ตลอดจนความมีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะฟื้นฟูอำนาจการควบคุมทั่วทั้งแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพกลับคืนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการทหารในจังหวัดที่อยู่ไกลออกไป

 

  • เกิดลัทธิบูชิโด

สมัยคะมะกุระ ซึ่งเป็นชื่อเรียกยุคของระบบโชกุนของโยริโตะโมะเป็นยุคที่มีแนวคิดในเรื่องของความกล้าหาญและรักเกียรติยศ เรียกว่า บูชิโด(bushido) ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของซามูไร

 ซามูไร

รูปภาพ1

           ในช่วงพ.ศ. 1761 (ค.ศ. 1213) อำนาจที่แท้จริงได้เปลี่ยนมือจากตระกูลมินาโมะโตะไปยังตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นตระกูลทางภรรยาของโยะริโมะโตะ โดยเป็นผู้สำเร็จราชการให้โชกุน ตระกูลโฮโจคอยค้ำจุนรัฐบาลที่เมืองคะมะคุระไว้ได้จนถึง พ.ศ. 1876 (ค.ศ. 1333) ในระหว่างนั้นกองทัพมองโกลได้บุกตอนเหนือของเกาะคิวชูถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 1817 (ค.ศ. 1274) และพ.ศ. 1824 (ค.ศ. 1281) ถึงแม้ว่าจะมีอาวุธที่ด้อยกว่าแต่นักรบญี่ปุ่นก็สามารถรักษาพื้นที่ไว้ได้และป้องกันไม่ให้ผู้รุกรานบุกลึกเข้าไปตอนในของประเทศ

                รูปภาพ2 รูปภาพ3

  • คะมิคะเช่

หลังจากที่กองทัพเรือส่วนใหญ่ของชนเผ่ามองโกลประสบความเสียหายอย่างหนักจากพายุไต้ฝุ่นที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “ คะมิคะเช่” ในการบุกญี่ปุ่นทั้งสองครั้ง กองทัพมองโกลจึงได้ถอยทัพไปจากญี่ปุ่น และอำนาจของค่ายทหารคะมะกุระก็หมดลงในปีเดียวกันนั้นเอง