คามิคาเซะ

 

Des-lyceennes-saluent-decollage-kamikaze-Toshio-Anazawa-12-avril-1945-Chiran_0_730_405

 

คามิคาเซะ (Kamikaze) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า กองกำลังจู่โจมพิเศษ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การรบของญี่ปุ่นที่น่าหวั่นกลัวมากในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

 

คำว่า คามิคาเซะ มาจากคำสองคำต่อกัน คือ kami หมายถึง พระเจ้า และ kaze หมายถึง ลม วมกันมีความหมายว่า ลมแห่งสวรรค์ ตามตำนานว่า
ในปีพ.ศ. 1842 มีพายุไต้ฝุ่นลูกหนึ่งได้ขับไล่กองทัพเรือจำนวน 4,500 ลำของจักรพรรดิ กุบไลข่าน ชาวญี่ปุ่นเป็นหนี้บุญคุณพายุไต้ฝุ่นลูกนี้จึงได้ตั้งชื่อพายุลูกนี้ว่า “คามิคาเซะ” แปลว่า “พายุเทพเจ้า”

กลุ่มนักบินพลีชีพคามิคาเซะกลุ่มแรกของญี่ปุ่นมีนักบินอาสาสมัคร 24 นายของนาวาโท อะไซกิ ทาไม อาจารย์สอนการบินทหารเรือ พร้อมกับมี 4 หน่วยย่อยที่เป็นพันธมิตรกัน คือ หน่วยชิกิชิมา (Shikishima – เกาะญี่ปุ่น) หน่วยยามาโตะ (Yamato – นามญี่ปุ่นในตำนาน) หน่วยอาซาฮี (Asahi – อาทิตย์ยามรุ่งอรุณ) และหน่วยยามาซากุระ (Yamazakura – ดอกซากุระภูเขา) ซึ่งชื่อของหน่วยเหล่านี้นำมาจากบทกวีของญี่ปุ่นสมัยเอโดะที่เขียนโดยโมโตโอริ โนรินากะ (Motoori Norinaga) ฝูงบินคามิคาเซะ ส่วนใหญ่จะเป็นทหารอาสาสมัครที่มีอายุประมาณ 17-20 ปีเท่านั้น ทหารเหล่านี้ไม่กลัวตาย เพราะพวกเขาถูกปลูกฝังมาในวิถีแห่งนับรบ (Bushido) ความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิและการเสียสละเพื่อชาติที่จะนำพาเกียรติยศสู่วงศ์ตระกูล

 

140303150135_111

ในเหล่านักบินพลีชีพก็ไม่ได้มีใครเต็มใจอยากจะเอาชีวิตตัวเองไปตาย แต่ด้วยในช่วงนั้นญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก มีความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิและพร้อมจะเสียสละเพื่อชาติ หากใครไม่สมัครใจเข้าร่วมในภารกิจก็จะถูก ดูแคลนจากหมู่เพื่อนว่าไม่ยอบรับใช้ชาติ และความกดดันนี้เองก็แทบไม่มีใครปฏิเสธที่จะเข้าร่วมภารกิจพลีชีพนี้เลย หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ญี่ปุ่นได้เปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนกลับมาเป็นประเทศมหาอำนาจอีกครั้ง ไม่ใช่มหาอำนาจทางทหาร แต่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกมาจนถึงปัจจุบัน