คุณลักษณะเครื่องเลื่อยชัก (Power Hack Saw)
เครื่องเลื่อยชักเป็นเครื่องเลื่อยกลแบบง่ายๆ ราคาถูกกว่าแบบอื่นหลายเท่า ที่นิยมใช้ในงานตัดโลหะทั้งในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่น งานตัดเหล็กในร้านขายเหล็ก ในร้านเหล็กดัดประตูหน้าต่าง
และโรงงานฝึกฝีมือช่างอุตสาหกรรมทุกสาขาวิชาลักษณะการทํางานของเลื่อยชัก คือ เปลี่ยนการส่งกําลังขับมอเตอร์ไฟฟ้าที่หมุนรอบตัวให้เป็น
การเคลื่อนที่ของใบเลื่อยไป – กลับด้วยกลไกเยื้องศูนย์

กลไกการทํางานของเครื่องเลื่อยชัก
กลไกการทํางานของเครื่องเลื่อยชัก เป็นกลไกส่งกําลังมอเตอร์ ส่งกําลังผ่านเฟืองขับ ซึ่งเป็นเฟืองทดเพื่อทดความเร็วรอบมอเตอร์ และเพื่อทดแรงขับของมอเตอร์
ที่ข้างเฟืองขับมีจุดหมุนก้านต่ออยู่คนละศูนย์กับศูนย์กลางเฟืองเพื่อต่อก้านต่อไปขับโครงเลื่อย ให้ชักโครงเลื่อยเดินหน้าและถอยหลังได้

การจับยึดชิ้นงานและการเลื่อย

การจับชิ้นงานและการเลื่อย_moro.co.th

1. ส่วนประกอบปากกาจับยึดชิ้นงานเครื่องเลื่อยชัก
ปากกาจับยึดชิ้นงานเครื่องเลื่อยชักที่ใช้กันอยู่ทั่วๆ ไปประกอบด้วยปากอยู่กับที่ อยู่ด้านหัวเครื่องที่มีมอเตอร์ขับ โดยตั้งอยู่แท่นซึ่งรองรับปากอยู่กับที่และปากเคลื่อนที่ ช่วงหลังด้านปากเคลื่อนที่ทําเป็นฟัน
เลื่อยเร็ว สําหรับใช้ปรับให้ปากเคลื่อนที่ เคลื่อนได้เร็วขึ้น ในกรณีจับชิ้นงานขนานเล็กๆ แล้วจึงขันแน่นด้วยเกรียวอีกครั้งหนึ่งด้วยการหมุนของมือหมุน ในกรณีต้องการเลื่อยชิ้นงาน

การจับชิ้นงานที่ถูกวิธี_moro.co.th
2. ลักษณะการจับชิ้นงานสั้น
การจับงานที่ผิดวิธีในกรณีชิ้นงานสั้น ปากของปากกาไม่สามารจะจับชิ้นงานให้แน่นได้ แรงกดของเกลียวจะดันชิ้นงานหลุด ถ้าฝืนเลื่อย ใบเลื่อยจะหัก การจับชิ้นงานที่ถูกวิธีปากของปากกาจะต้องกดขนานกัน
ทั้ง 2 ปาก การจับชิ้นงานสั้น ใช้เหล็กหนุนช่วยในการจับ ดันปากกาให้ขนานกดชิ้นงานแน่น เมื่อขันเกลียวจะทําให้ชิ้นงานไม่หลุด

การวัดขนาดความยาวชิ้นงาน_moro.co.th

3. การวัดตัดชิ้นงาน
การเลื่อยชิ้นงานขนาดเดียวกันจํานวนมากถ้าตั้งวัดงานทุกครั้งที่ทําการตัด จะใช้เวลามากและขนานของชิ้นงานจะไม่เท่ากันมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้วิธีการแก้ไขในการตัดชิ้นงานขนานเดียวกันจํานวนมากๆ
โดยการการตั้งวัดระยะงานชิ้นแรกแล้วใช้แขนตั้งระยะช่วยในการเลื่อยชิ้นงานชิ้นต่อไป

ส่วนประกอบแขนตั้งระยะ_moro.co.th

4. การใช้แขนตั้งระยะ
แขนตั้งระยะ ช่วยในการวัดชิ้นงานที่ต้องตัดจํานวนมากๆ ให้ได้ขนาดเดียวกันทุกชิ้นแขนตั้งระยะสามารถปรับระยะได้โดยการขันสกรูยึดให้แน่น และมือหมุนขันแน่น เมื่อปรับได้ที่แล้วต้องขันแน่นทั้ง 2 จุด
เพราะเมื่อดันชิ้นงานเข้ามาตัดใหม่จะเกิดการกระแทก อาจทําให้ขนาดเปลี่ยนแปลงไปได้

การเลื่อยชิ้นงาน_moro.co.th

5. การเลื่อยชิ้นงาน
หลังจากประกอบใบเลื่อยเข้ากับโครงเลื่อยและจับชิ้นงานเข้ากับปากกา ยกโครงเลื่อยให้และจับชิ้นงานเข้ากับปากกา ยกโครงเลื่อยให้ใบเลื่อยลอยอยู่เหนือชิ้นงาน เปิดเครื่องให้ใบเลื่อยทํางาน พร้อมกับ
ค่อยๆ ลดใบเลื่อยเลื่อยลงให้ฟันเลื่อยแตะกับผิวงาน จุดแรกเริ่มของฟันเลื่อยทํางานกับค่อยๆ ลดใบเลื่อยลงให้ฟันเลื่อยแตะกับผิวงาน จุดแรกของฟันเลื่อยที่แตะจะเป็นจุดเริ่มต้นของการทํางานเลื่อย ในขณะเดียวกัน
จะต้องเปิดก๊อกน้ําหล่อเย็น ให้น้ําช่วยระบายความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีของใบเลื่อยกับชิ้นงาน พร้อมกับไล่เศษโลหะออกจากฟันเลื่อยอีกด้วย จะไม่เกิดการอัดแน่นในร่องฟันเลื่อย

ข้อควรระวังในการใช้เครื่องเลื่อยชัก
1. เมื่อเริ่มต้นเลื่อยให้ยกใบเลื่อยพ้นชิ้นงาน แล้วปล่อยลงบนชิ้นงานช้าๆ ตัดด้วยแรงเบาๆ ก่อน แล้วจึงค่อยปรับเพิ่มแรงตัดมากขึ้น จะทําให้การตัดงานทําได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. จับงานให้แน่นด้วยอุปกรณ์จับยึด ถ้าจับไม่แน่นชิ้นงานขัดใบเลื่อย มีโอกาสแตกหักได้ง่าย
3. ตั้งระยะขนาดงานให้ถูกต้องก่อนทําการยึดชิ้นงานแน่น
4. ใช้น้ําหล่อเย็นช่วยระบายความร้อนในขณะทําการตัดเฉือน
5. อย่าถอดชิ้นงาน หรือคายปากกาออกขณะกําลังตัดอยู่จะทําให้ใบเลื่อยหักได้
6. เลือกใช้ความเร็วในการตัดชิ้นงานให้เหมาะกับวัสดุและขนาดงานนั้นๆ
7. เลือกใช้ใบเลื่อยให้จํานวนฟันถูกต้องกับคุณสมบัติและขนาดชิ้นงาน