กระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator) คือ เครื่องมือในการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล (Bulk Material) ในทิศทางเดียว (One way) อย่างต่อเนื่องในแนวเอียง(Incline)หรือในแนวดิ่ง(vertical)  กระพ้อลำเลียง (Bucket Elevator) ใช้โซ่(Chain) หรือสายพาน(Belt) เป็นตัวกลาง(Medium) ในการลำเลียงลูกกระพ้อ (Bucket) ที่ยึดติดกับโซ่ (Chain)หรือสายพาน(Belt) โดยลำเลียงจากส่วนล่าง (Boot) ของต้นกระพ้อไปยังส่วนหัว(Head)ที่เป็นตำแหน่งจ่าย(Discharge) วัสดุ

%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87_moro-co-th

ประเภทของสายพานกระพ้อลำเลียง (Types of Bucket Belt Elevator) หากแบ่งตาม ระยะห่างระหว่างลูกกระพ้อ (Bucket Spacing) และ ลักษณะของการจ่ายวัสดุ (Mode of Discharge) จะแบ่งได้ 3 แบบ คือ

%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a0%e0%b8%97%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%a5

1.2.1กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) กระพ้อลำเลียงแบบนี้ จะติดลูกกระพ้อบนสายพาน (Belt) หรือโซ่ (Chain) ห่างกันเป็นช่วงๆ (Regular Pitch) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลูกกระพ้อกระทบกระทั่งกันขณะลูกกระพ้อรับ (Load) หรือจ่าย (Discharge) วัสดุ กระพ้อลำเลียงแบบนี้ส่วนมากจะทำงานในแนวดิ่ง และวัสดุที่ลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆมีวัสดุก้อนใหญ่ (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว-ตำราบางเล่มระบุแค่ 25 มม.)ปะปนในสัดส่วนที่น้อย ( <10%)  มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเมล็ดน้อย แห้ง ค่อนข้างไหลง่ายๆ(Free Flow) เช่นเมล็ดผลิตผลทางการเกษตร ข้าง ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือ ถ่านหิน ทราย น้ำตาล เกลือ สารเคมี หรือชนิดเป็นผงเช่น  ผงปูนซีเมนต์ ผงยิบซั่ม เหตุที่วัสดุลำเลียงต้องมีขนาดเล็ก (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว) ก็เพื่อไม่ให้ลูกกระพ้อเสียหายง่ายเกินไปขณะที่ขุด/ตัก (Dig/Scoop)วัสดุ วัสดุจะถูกป้อนเข้าสู่ด้านล่าง(Boot) ทางรางป้อน Loading Leg (ตำแหน่งอยู่เหนือ Center line ของ Boot Pulley 10-15 ซม.) ลูกกระพ้อจะขุด/ตัก (Dig/Scoop)วัสดุและจะถูกลำเลียงไปยังส่วนหัว(Head)ที่เป็นตำแหน่งจ่าย(Discharge) วัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge)

ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) จะเร็วกว่าแบบอื่นๆ (ที่ต้องเร็วก็เพราะต้องการมีแรงเหวี่ยงวัสดุออกให้หมด) อยู่ในช่วง 70-125 M/Min. จะไม่เหมาะสมกับขนาดวัสดุที่ใหญ่กว่า 50 มม. (ตัก/ขุดยาก) และจะไม่เหมาะสมกับวัสดุที่เป็นผงที่ละเอียดกว่าตะแกรงเบอร์ 200 เนื่องจากจะเกิดฝุ่นมาก (Aerated) วัสดุเกิดการสูญเสีย และปัญหาวัสดุติด (Jam) ได้เอง เนื่องจากวัสดุที่เป็นผงขนาดเล็กมีคุณสมบัติเฉพาะค่อนข้างอ่อนไหวง่ายเช่น เหนียวขึ้น หรือร่วนเมื่อความชื้นเปลี่ยนแปลง

TIPS. วิธีสังเกตว่า วัสดุใดใช้ระบบกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ลำเลียงได้ คือ ถ้าวัสดุนั้นสามารถใช้พลั่วตักขึ้นด้วยมือได้ง่ายๆ วัสดุนั้นสามารถใช้กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) ได้

%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%82%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94

1.2.2.กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Continuous Discharge Elevator) จะติดลูกกระพ้อบนสายพาน(Belt)หรือโซ่(Chain) โดยลูกกระพ้อ จะติดกันต่อเนื่องไม่ให้มีช่องว่าง กระพ้อลำเลียงแบบนี้ส่วนมากจะทำงานในแนวดิ่ง ใช้ลำเลียงวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มม.ได้ (วิ่งช้า) วัสดุจะถูกป้อนเข้าสู่ ลูกกระพ้อโดยตรง(จะไม่ขุด/ตัก (Dig/Scoop) ทางรางLoading Leg หรือ Chute (ตำแหน่งอยู่เหนือ Center line ของ Boot Pulley 50-65 ซม.) ซึ่ง Chute จะมีขนาดใกล้เคียงและมีระยะชิดใกล้ลูกกระพ้อมากที่สุดเพื่อให้มีช่องว่างน้อยที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้วัสดุตกลงไปที่ส่วนล่าง(Boot) ของต้นกระพ้อ ควรทำสะอาดส่วนล่าง(Boot) ของกระพ้ออย่างสม่ำเสมอ เพราะหากวัสดุตกลงและกองสะสมที่ด้านล่างมากขึ้นจะทำให้ลูกกระพ้อ ขุด/ตัก วัสดุทำให้ตัวกระพ้อเสียหาย (เพราะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานแบบนี้) ได้ง่ายและสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่มีประโยชน์ ส่วนวัสดุเหมาะสมกับการลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆ แต่ขนาดใหญ่ขึ้นหน่อยก็ยังใช้ได้ มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อย แห้ง ค่อนข้างไหลง่ายๆ(Free Flow) เช่นเมล็ดผลิตผลทางการเกษตร ข้าง ข้าวโพด ถั่วเขียว หรือ ถ่านหิน ทรายน้ำตาล เกลือ สารเคมี ชนิดเป็นผงเช่น  ผงปูนซีเมนต์ ผงยิบซั่ม ความเร็วในการขนถ่ายจะน้อยมาก วัสดุจะถูกลำเลียงไปยังส่วนหัว(Head)ที่เป็นตำแหน่งจ่าย(Discharge) โดยวัสดุจะไหลผ่านผนัง(ทำหน้าที่คล้ายเป็น Moving Chute ในตัว) ด้านบนของลูกกระพ้อตัวก่อนหน้า ที่เพิ่งจ่ายวัสดุออกไปจนหมด แล้วไหลไปยัง Fixed Chute ที่รับวัสดุอีกทอดหนึ่ง

ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงแบบจ่ายวัสดุแบบต่อเนื่อง (Continuous Discharge Elevator) จะช้า อยู่ในช่วง 30-50 M/Min.ใช้ลำเลียงวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มม.ได้ ถ้าวัสดุที่ไหลยากขึ้นหน่อย ต้องปรับความเร็วของกระพ้อให้ต่ำลงเพื่อให้วัสดุมีเวลามากขึ้นที่จะไหลออกจากลูกกระพ้อจนหมด เนื่องจากกระพ้อลำเลียงแบบนี้ มีความเร็วน้อยจึงเหมาะสมที่จะลำเลียงวัสดุที่แตกหักง่าย (Fragile) และ เป็นผง เนื่องจากไม่ฟุ้งกระจายเกิดฝุ่นมาก (Aerated) เกินไป และวัสดุไม่สูญเสีย และไม่เกิดปัญหาวัสดุติด (Jam)
%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%80

1.2.3.กระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบ Positive กระพ้อลำเลียงแบบนี้ เหมือนกับกระพ้อลำเลียงจ่ายวัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Discharge Elevator) เช่นลูกกระพ้อจะขุด/ตัก (Dig/Scoop) วัสดุที่ด้านล่าง (Boot) และจะถูกลำเลียงไปยังส่วนหัว (Head) ที่เป็นตำแหน่งจ่าย (Discharge) แต่จะแตกต่างกันอยู่ 2 จุดคือ 1. ลูกกระพ้อจะติดห่างกันเป็นช่วงๆ(Regular Pitch) บนโซ่ (Chain) 2 เส้น 2.มีล้อกดใต้ Head Pulley เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อลูกกระพ้อจะคว่ำเมื่อเคลื่อนที่ผ่าน Head Pulley สามารถจ่าย (Discharge)วัสดุออกได้อย่างหมดจด (ไม่ได้จ่าย วัสดุแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง)วัสดุที่ลำเลียงจะเป็นประเภทเม็ดเล็กๆ (ไม่เกิน 50 มม. หรือ 2 นิ้ว) มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อย แห้ง ไหลง่ายๆ (Free Flow) น้ำหนักเบา (Light) หรือนิ่ม (Soft) ความเร็วที่ใช้กับกระพ้อลำเลียงแบบจ่ายวัสดุแบบ Positive ประมาณ 36 M/Min