การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน(Preventive Maintenance) และ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ องค์กร ต้องกำหนดเครื่องจักรหลักที่สำคัญในกระบวนการผลิต และจัดหาทรัพยากรที่เหมาะสม สำหรับการซ่อมบำรุงเครื่องจักร / เครื่องมือ และพัฒนาแผนสู่ระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยรวม ซึ่งอย่างน้อยระบบ ต้องประกอบด้วย :

  1. กิจกรรมการซ่อมบำรุง ที่ได้วางแผนไว้
  2. การบรรจุหีบห่อและการดูแลรักษาอุปกรณ์ เครื่องมือ และเกจวัด
  3. ความพร้อมของอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่ใช้ทดแทน สำหรับเครื่องจักรหลักที่สำคัญในการผลิต
  4. วัตถุประสงค์ของการซ่อมบำรุง และถูกจัดทำเป็นเอกสาร , มีการประเมินและได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอ
    องค์กร ต้องใช้ประโยชน์จากวิธีการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ ์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของอุปกรณ์เครื่องจักร ในการผลิตอย่างต่อเนื่อง

ความแตกต่างหลัก

  • Predictive Maintenance คือการคาดคะเนอัตราการเสื่อมของเครื่องจักร จากผลการวัดโดยใช้เครื่องมือจะสามารถทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถคาดคะเน ทำนาย พยากรณ์อาการชำรุดในปัจจุบันเพื่อสามารถจัดวางแผน เพื่อทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรในอนาคต ซึ่งแตกต่างจาก preventive maintenance ที่ซึ่งทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นโดยอาจได้มาจากประสบการณ์ หรือคู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้นๆ
  • การกระทำการ predictive ตามนิยามของ TS16949 ไม่สามารถใช้ระบบประสาทสัมผัส เช่น การใช้สายตา ใช้จมูกดมกลิ่นไหม้ การใช้หูฟังเสียงที่ดังผิดปรกติได้ ทั้งนี้เนื่องจากประสาทสัมผัสแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
  • predictive ตามนิยามนี้ต้องเป็นการใช้ process data เพื่อการพยากรณ์ ดังนั้นต้องมีการวัดค่า ตัวเลขและมีการเปรียบเทียบข้อมูลตัวเลข เพื่อประมาณกำหนดการและส่วนการชำรุดที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้เราสามารถทำการจัดเตรียมล่วงหน้าสำหรับ แรงงาน ชิ้นส่วน อะไหล่ แผนการผลิตที่อาจมีผลกระทบได้อย่างแม่นยำ

จุดอ่อนของ preventive maintenance

  • การทำ preventive maintenance ยังคงไม่สามารถขจัดปัญหาการชำรุดเครื่องจักรโดยไม่คาดคิดได้ แม้ว่าจะทำการบำรุงรักษาตามแผนแล้วก็ตาม มากกว่านั้นจากการบำรุงรักษาตามเวลา เราอาจมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนบางชิ้นโดยไม่จำเป็นทั้งนี้ เนื่องจากสภาพการใช้งานมีความแตกต่าง มากกว่านั้นการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนสามารถทำให้การเสียหายจากการถอดประกอบได้

จุดอ่อนของ predictive maintenance

  • การทำการ predictive นี้ ต้องใช้เครื่องมือวัดที่ทันสมัย ใช้ทักษะของผู้ตรวจสอบและผู้ชำนาญการในวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายในการตรวจวัดและวิเคราะห์สูง ด้วยเหตุผลนี้การบำรุงรักษาแบบพยากรณ์ล่วงหน้านี้ เหมาะสำหรับโรงงานที่มีเครื่องจักรซับซ้อน ต้องการความเชื่อถือในกระบวนการผลิตสูงในแง่การผลิตทันเวลา หรือเครื่องจักรนั้นเป็นเครื่องจักรที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพัก

อะไรบ้างที่เราสามารถทำการตรวจวัดเพื่อการพยากรณ์

  • อะไรคือเครื่องจักรหลักที่สำคัญ (key process equipment) ที่ต้องชี้บ่ง คือ เครื่องจักรที่มีผลต่อความสามารถของกระบวนการผลิต หากเครื่องจักรนี้นเกิดการเสียหาย สามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถของกระบวนการผลิตได้

หลักการอะไรในการพิจจารณาว่าเครื่องจักรนั้นมีความสำคัญ

  1. มูลค่าเครื่องจักร
  2. ผลกระทบต่อการปริมาณการผลิตหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์หากเกิดการชำรุด
  3. ผลกระทบต่อความปลอดภัยของพนักงานหากเกิดการชำรุด
  4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเครื่องจักรชำรุด

เราจะเริ่มระบบการซ่อมบำรุงได้อย่างไร

  • จัดทำรายชื่อเครื่องจักรที่มีผลกระทบต่อความสามารถของกระบวนการผลิต
  • กำหนดข้อกำหนดทางด้านการบำรุงรักษา พร้อมทั้งกิจกรรมการซ่อมบำรุงและความถี่
  • แผนการซ่อมบำรุงพร้อมหมายกำหนดการในรอบปีปฏิทิน
  • ขั้นตอนปฏิบัติวิธีการในการกระทำกิจกรรมการซ่อมบำรุง
  • ขั้นตอนปฏิบัติในการหยุดการผลิตก่อนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน
  • ขั้นตอนปฏิบัติในการเริ่มเดินเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน
  • ขั้นตอนปฏิบัติในการดำเนินการในกรณีที่เครื่องจักรผิดปรกติโดยฉับพลัน

หากท่านสามาถธำรงรักษาความสามารถของกระบวนการโดยการใช้เครื่องจักรสำรอง หรือใช้เครื่องจักรชนิดอื่นทดแทน ระบบงานซ่อมบำรุงสามารถเป็นระบบง่ายๆที่ไม่ต้องซับซ้อน ในกรณีนี้ท่านเพียงทำให้มั่นใจว่าท่านมีเครื่องจักรสำรองนั้นอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าท่านไม่มีเครื่องจักรสำรอง ท่านยังสามารถเรียกใช้บริการงานซ่อมบำรุงรักษาจากภายนอก หากการชำรุดของเครื่องจักรนั้นไม่มีผลกระทบต่อความสามารถในการผลิต จากการที่เราเรียกใช้บริการซ่อมบำรุงจากภายนอก แต่โปรดทำให้มั่นใจหรือสามารถพิสูจน์ได้จริงๆ เพราะนั่นคือสิ่งที่ลูกค้าของท่านใส่ใจและเนื่องจากลูกค้าของท่านใส่ใจ ผู้ตรวจประเมินของท่านจะต้องใส่ใจในเรื่องนี้เข่นกัน

ชนิดของการทำการซ่อมบำรุงรักษา

  • Corrective Maintenance / Breakdown Maintenance : เป็นการบำรุงรักษาหรือซ่อมหลังจากการเกิดการชำรุงของชิ้นส่วนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์
  • Preventive maintenance : เป็นการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ ตามระยะเวลาที่กำหนดซี่งอาจได้มาจากประสบการณ์หรือคู่มือการใช้งานของเครื่องจักรนั้นๆ
  • Predictive Maintenance : เป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่างๆเพื่อติดตามสภาพเครื่องจักร และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง

คู่มือเครื่องจักรจะให้คำแนะนำในกิจกรรมบำรุงรักษาเชิงป้องกันไว้ ไม่ว่าในเรื่องการทำความสะอาด การปรับแต่ง การหล่อลื่น การการเปลี่ยนไส้กรอง ประเก็น รวมถึงการตรวจสอบการกัดกร่อน การสึกหรอ และการเสียหายยังคงมีข้อมูลอื่นๆจากการปฏิบัติงานของตน เช่นการติดตาม การสึกหรอ การวิเคราะห์สารหล่อเย็น ซึ่งการใช้ข้อมูลต่างๆนี้สามารถใช้ในการทำให้เห็นภาพรวมของสมรรถนะเครื่องจักรและสามารถใช้ในการพยากรณ์ กำหนดความถี่ในการตรวจสอบ การเปลี่ยนชิ้นส่วน ซึ่งในการติดตามนี้จะดีกว่าการรอให้เครื่องมือเครื่องจักรสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

Total preventive maintenances system คือ TPM หรือไม่

TPM เป็นการจัดทำระบบ ซ่อมบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม

ข้อควรระวังอื่นๆ

  • ในการจัดทำระบบงานซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิผล ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่เพียงพอซึ่งรวมถึง พนักงานซ่อมบำรุงที่มีทักษะความสามารถที่เพียงพอ
  • ระบบในการควบคุมสินค้าคงคลัง ควรรวมถึงการควบคุมชิ้นส่วน sparepart
  • ระบบเอกสารที่จำเป็นตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
  • คู่มือเครื่องจักรต้องเป็นเอกสารภายนอกภายใต้การควบคุม
  • Jig Tooling Fixture ที่ใช้ ต้องควบคุมภายใต้การ calibration หรือ verification
  • Spare parts ควรได้รับการควบคุม ชี้บ่ง ตามระบบstock control
  • ต้องมีค่าวัตถุประสงค์ เป้าหมายเพื่อควบคุมและการปรับปรุงในส่วนงานซ่อมบำรุง

>>Credit<<
>> Picture Credit<<