การปฏิวัติอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL REVOLUTION) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงใน วิธีการผลิตและระบบการผลิต จากเดิมระบบการผลิตมักทำกันภายในครอบคัว พ่อค้ามักเป็น นายทุนซื้อวัตถุดิบแล้วแจกจ่ายให้แต่ละครอบครัวรับมาทำ แล้วพ่อค้าจะรับผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จ แล้วไปขาย คนงานก็จะได้ค่าจ้างเป็นการตอบแทน การผลิตสินค้าเดิมใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน เริ่มจากแบบ ง่ายๆ จนถึงแบบซับซ้อนที่มีกำลังผลิตสูง จนเกิดเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (FACTORY SYSTEM) การผลิตภายในครอบครัวก็ค่อยๆ หมดไป และผู้คนจำนวนมากตามชนบทต้องอพยพเข้ามาทำงาน เป็นกรรมกรในโรงงาน

   การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกเกิดในประเทศอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และได้แพร่ ขยายไปยังประเทศตะวันตกอื่นๆ ทั่วโลก การปฏิวัติอุตสาหกรรมนับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่มีผล กระทบต่อการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของมนุษยชาติทั่วโลก

   อังกฤษ : ผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นที่อังกฤษเพราะอังกฤษมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทาง อุตสาหกรรมครบถ้วน คือ มีทุน วัตถุดิบ แรงงาน และตลาดการค้า

   อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติเกษตรกรรม (AGRICULTURAL REVOLUTION) โดยนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาปรับปรุงการเกษตรให้พัฒนาขึ้น โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อังกฤษนำระบบล้อม เขตที่ดิน (ENCLOSURE SYSTEM) มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นผลให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนเป็นผืนใหญ่ และสร้างรั้วล้อมที่ดินของตนเพื่อ ป้องกันความเสียหายของพืชผลจากการทำลายของคนและสัตว์ นอกจากนี้ยังนำวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต การปรับปรุงวิธีการทำนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฏิวัติเกษตรกรรมนำไปสู่ การปฏิวัติอุตสาหกรรม

   การเกษตรกรรมในอังกฤษได้ผลดีขึ้น ทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองขึ้น ประเทศมีความ มั่งคั่งขึ้นใน ค.ศ. 1694 รัฐบาลจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BANK OF ENGLAND) เพื่อเป็น แหล่งระดมทุนของรัฐ ทรัพยากรมนุษย์ของอังกฤษก็มีความพร้อมสนับสนุนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เพราะชาวอังกฤษไม่เคร่งครัดต่อการแบ่งแยกชนชั้น เช่น สังคมอื่นๆ ในยุโรป ทั้งยังให้การ ยอมรับชนทุกชั้นที่สามารถสร้างฐานะเป็นปึกแผ่น ดังนั้นขุนนางอังกฤษจึงไม่รังเกียจที่จะทำการค้า เช่นเดียวกับคนชั้นกลางที่พยายามยกสถานภาพทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมขุนนาง นอกจากนี้รัฐยังส่งเสริมให้การค้าขยายตัว เช่น มีการออกพระราชบัญญัติสร้างถนน ท่าจอดเรือ และขุดคูคลอง ต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมทางการค้า มีการยกเลิกการเก็บภาษีผ่านด่าน และมีนโยบายการค้าแบบเสรี ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้มีการขยายตัวของตลาดการค้าภายในอย่าง กว้างขวาง

   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อังกฤษเป็นประเทศผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม เนื่องจากในระหว่าง คริสต์ศตวรรษที่ 17-18 อังกฤษมีอาณานิคมที่อยู่โพ้นทะเลที่เป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดทั้งใน ทวีปเอเชียและอเมริกา จนในที่สุดการค้าได้กลายเป็นนโยบายหลักของประเทศ เรือรบของอังกฤษ ทำหน้าที่รักษาเส้นทางทางการค้าทางทะเล และให้ความคุ้มครองแก่เรือพาณิชย์ที่เดินทางไปค้าขายทั่วโลก สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้ชาวอังกฤษคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรมาใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

   การปฏิวัติอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะแรกใน ระหว่าง ค.ศ 1760-1840 เป็นระยะที่มีการประดิษฐ์เครื่องจักรช่วยในการผลิตและการปรับปรุง โรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1861- 1865 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็ก และเครื่องจักรไอน้ำ

 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะแรก คือ การประดิษฐ์เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการ ทอผ้า เช่น ใน ค.ศ. 1733 จอห์น เคย์ (JOHN KAY) แห่งเมืองแลงคาเชียร์ (LANCASHIRE) ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก (FLYING SHUTTLE) ซึ่งช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า ค.ศ. 1764 เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (JAMES HARGREAVES) สามารถผลิตเครื่องปั่นด้าย (SPINNING JENNY) ได้สำเร็จ ต่อมา ค.ศ. 1769 ริชาร์ด อาร์กไรต์ (RICHARD ARKWRIGHT) ได้ปรับปรุง เครื่องปั่นด้ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนพลังคนเรียกว่า WATER FRAME ทำให้เกิดโรงงาน ทอผ้าตามริมฝั่งแม่น้ำทั่วประเทศ มีการ ขยายตัวทำไร่ฝ้ายในอเมริกา ต่อมาวิตนีย์ (ELI WHITNEY) สามารถประดิษฐ์เครื่อง แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใย (COTTON GIN) ได้เมื่อ ค.ศ. 1793 การพัฒนาอุตสาห- กรรมการทอผ้าของอังกฤษเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

การประดิษฐ์ที่พัฒนาควบคู่กับการทอผ้า คือ การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยเจมส์ วัตต์ (JAMES WATT) ชาวสกอต ประดิษฐ์ได้ใน ค.ศ. 1769 โดยใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงาน น้ำ ซึ่งส่งผลให้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่และการทอผ้า ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำ เป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกลทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจักร กลไอน้ำ ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กขยายปริมาณการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเฮนรี คอร์ต (HENRY CORT) ชาวอังกฤษคิดค้นวิธีการ หลอมเหล็กให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็ส่งผลให้มีการปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่ ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มี ประสิทธิภาพขึ้น

ต่อมาใน ค.ศ. 1807 ชาวอังกฤษได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมจำหน่ายเครื่องจักร ณ เมืองลีจ (LIEGE) ประเทศเบลเยียม ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในเบลเยียม แต่อย่างไรก็ตาม ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษยังครองความเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใน ค.ศ. 1851 อังกฤษได้จัดแสดงนิทรรศการครั้งใหญ่ (GREAT EXHIBITION) แสดงความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเหล็กของอังกฤษ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจาก ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็กและเครื่องจักรไอน้ำ โดยใน ค.ศ. 1804 ริชาร์ด เทรวีทิก(RICHARD TREVITICK) นำพลังงานไอน้ำมาขับเคลื่อนรถบรรทุก รถจักรไอน้ำจึงมีบทบาทสำคัญใน อุตสาหกรรมขนส่ง ที่มีชื่อเสียงมาก คือ หัวรถจักรไอน้ำ ชื่อ ร็อกเกต (ROCKET) ของจอร์จ สตี- เฟนสัน (GEORGE STEPHENSON) ทำให้มีการเปิดบริการรถจักรไอน้ำบรรทุกสินค้าเป็นครั้งแรก ต่อ มามีการดัดแปลงมารับส่งผู้โดยสาร ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเข้าสู่ยุคการใช้รถไฟ ซึ่งเป็นผลทำให้ ความเจริญขยายตัวจากเขตเมืองไปสู่ชนบท เปลี่ยนชนบทให้กลายเป็นเมือง นอกจากนี้รถไฟยัง เป็นพาหนะสำคัญในการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ยุโรป สนใจกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 (FRENCH REVOLUTION : ค.ศ. 1789) ได้หันมา สนใจปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา และก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งกับอังกฤษ

ส่วนการคมนาคมทางน้ำ ใน ค.ศ. 1807 โรเบิร์ต ฟุลตัน (ROBERT FULTON) ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการนำพลังไอน้ำมาใช้กับเรือเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ต่อมา ค.ศ. 1840แซม มวล คูนาร์ด (SEMUEL CUNARD) เปิดเดินเรือกลไฟแล่นข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ภายใน 14 วัน และมีการปรับปรุงเรือกลไฟให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทางด้านรถยนต์มีการนำพลังไอน้ำมาใช้กับรถสามล้อ ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มี การประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน จนถึง ค.ศ. 1857 คาร์ล เบนซ์ (KARL BENZ) และ กอตต์ลีบ เดมเลอร์ (GOTTLIEB DAIMLER) สามารถนำเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินมาใช้กับรถยนต์ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์เจริญก้าวหน้าขึ้นในยุคนี้ยังได้มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบลูกกลิ้งขึ้นใช้ใน ค.ศ. 1812 ทำให้การพิมพ์ พัฒนาได้ปริมาณมากขึ้นและเร็วทันเหตุการณ์ หนังสือพิมพ์จึงแพร่หลาย การเผยแพร่ความรู้และ ข่าวสารก็แพร่หลายในวงกว้างขึ้น นอกจากนี้ยังมีการริเริ่มระบบไปรษณีย์ในอังกฤษ ใน ค.ศ. 1840 ทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็วขึ้น ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แซมมวล มอร์ส (SEMUEL MORSE) ประดิษฐ์โทรเลขได้สำเร็จเป็นคนแรก ใน ค.ศ. 1837 อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (ALEXANDER GRAHAM BELL) ประดิษฐ์โทรศัพท์ได้สำเร็จใน ค.ศ. 1876 และใน ค.ศ. 1901 ก็มีการ ประดิษฐ์วิทยุโทรเลขได้และส่งโทรเลขข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จ ธอมัส แอลวา เอดิสัน (THOMAS ALVA EDISON) ชาวอเมริกันประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เครื่องเล่นจานเสียง และ กล้องถ่ายภาพยนตร์ได้

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้

 1. ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้า ขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสมบูรณ์ของอาหาร ระบบ สาธารณสุขและการดูแลสุขภาพอนามัย การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอพยพจากชนบทมาหางานทำใน เมืองจนเกิดปัญหาความแออัดของประชากรในเขตเมือง

2. การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและสถาปัตยกรรม พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีการก่อสร้าง ทำให้อาคารแข็งแรงขึ้น การออกแบบ ก่อสร้างหอไอเฟล (EIFFEL TOWER) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1889 ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการก่อสร้างที่ ทันสมัยของโลก

 3. เกิดปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย เช่น ชุมชนแออัด การแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้ แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบกัน ทำให้เกิดแนวคิดของ ลัทธิสังคมนิยม (SOCIALISM) ของคาร์ล มาร์กซ์ (KARL MARX) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกันเพื่อก่อการปฏิวัติโค่นล้มระบบ ทุนนิยม ทำให้ลัทธิสังคมนิยมมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้น

 4. เกิดลัทธิเสรีนิยม (LIBERALISM) ซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยและ แนวคิดนี้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ค.ศ. 1776 แอดัม สมิธ (ADAM SMITH) ได้พิมพ์งานเขียนชื่อ THE WEALTH OF NATIONS เพื่อเสนอแนวคิดว่าความมั่งคั่งของ ประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี (LAISSEZ FAIRE)

 กล่าวได้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการแบ่งค่ายระหว่างลัทธิทุนนิยมกับลัทธิ สังคมนิยมอย่างเป็นรูปธรรม ต่อมาใน ค.ศ. 1889 ได้มีการประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเมย์เดย์หรือวันแรงงานสากล (MAY DAY) นอกจากนี้ยังทำให้เกิดวรรณกรรมแนวสัจนิยม (REALISM) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พยายามเสนอเรื่องความเป็นจริงเบื้องหลัง ความสำเร็จ ของระบบสังคมอุตสาหกรรม ที่ชนชั้นกรรมกรมีชีวิตที่ยากไร้และถูกเอารัดเอาเปรียบ

 5.การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมได้ขยายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง และทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้มี “วัฒนธรรมร่วม” ตามตะวันตกไปด้วย