ชนิดและส่วนต่างๆของเกลียว

เกลียว (Thread) หมายถึงสันหรือร่องที่เกิดขึ้นบนผิวงานวนไปรอบ ๆจะซ้ายหรือขวาก็ไดด้วยระยะทางที่สม่ำเสมอ

เกลียวแบ่งได้ออกเป็น 5 ชนิด

1. เกลียวสามเหลี่ยม

1.1 เกลียวเมตริก (M-Thread)

1.2 เกลียว ISO

1.3 เกลียววิตเวอร์ต

1.4 เกลียวอเมริกัน

1.5 เกลียวยูนิไฟด์

1.6 เกลียวสามเหลี่ยมยอดแหลม

2. เกลียวสี่เหลี่ยม

3. เกลียวสี่เหลี่ยมคาวหมู

3.1 เกลียวTr

3.2 เกลียวAeme

3.3 เกลียวหนอน

4. เกลียกลม

5. เกลียวฟันเลื่อย

 

ส่วนต่างๆของเกลียว

เกลียวแบ่งตามลักษณะหน้าตัดได้หลายแบบซึ่งแต่ละแบบก็มีลักษณะการใช้งานทั้งแบบที่เหมือนกันและแตกต่างกันไปแบ่งออกได้ดังนี้

 

รูปที่ 1 ส่วนต่างๆที่สำคัญของเกลียว

 

Major Diameter คือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของชิ้นงานทั้งของเกลียวนอกและเกลียวในหรือคือขนาดกำหนดนั่นเอง

Minor Diameter คือความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเกลียวทั้งของเกลียวนอกและเกลียวใน

Pitch Diameter คือความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่วงกลมพิตช์

Pitch คือระยะห่างระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งเดียวกันของเกลียวถัดไปเช่นวัดจากยอดเกลียวถึงยอดเกลียว

Angle of Thread หรือ Included Angle มุมรวมยอดเกลียว

Helix Angle มุมเอียงของฟันเกลียว

Crest คือยอดฟันเกลียว

Root คือโคนเกลียว

Axis of Screw แกนของสลักเกลียว

Depth of Thread ความลึกของเกลียววัดจากยอดเกลียวถึงโคนเกลียว

Number of Thread จำนวนเกลียวต่อนิ้ว

 

1.              เกลียวสามเหลี่ยม

เกลียวสามเหลี่ยมคือเกลียวที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมมีทั้งเกลียวที่เป็นระบบเมตริกและเกลียวระบบอังกฤษ

 

รูปที่ส่วนสำคัญต่างๆของเกลียวสามเหลี่ยม

 

ส่วนต่างๆที่สำคัญของเกลียวสามเหลี่ยม

1. ยาวเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอก (d, D)

2. ของเกลียว (P)

3. ความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางโคนเกลียว (d, D1)

4. ความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางที่วงกลมพิตช์ (d, D2)

5. ความลึกเกลียว (t1)

6. รัศมีโค้งที่ท้องเกลียว ( R )

7. ขนาดรูเจาะเพื่อทำเกลียว (TDS)

 

1.1 เกลียวเมตริกธรรมดาคือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาแตกต่างจากเกลียวเมตริก ISO ตรง

สูตรการคำนวณบางค่าแตกต่างกันเช่นสูตรหาค่าความลึก

 

รูปที่เกลียวเมตริกธรรมดา

 

ตัวอย่างที่ตองการกลึงเกลียว M 14× 2 จงคำนวณหาค่าต่างๆ

 

 

ตัวอย่างที่ต้องการกลึงเกลียว M 14 × 1.5 จงคำนวณหาค่าต่างๆจากตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างเกลียวละเอียด

 

 

หมายเหตุเกลียวเมตริกละเอียดใช้สูตรการคำนวณเหมือนกันต่างกันตรงระยะพิตช์น้อยกว่า

1.2      เกลียวเมตริก ISO คือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาเป็นเกลียวสามเหลี่ยมที่เป็นมาตรฐานสากลของระบบเมตริกสูตรในการคำนวณแตกต่างจากเกลียวเมตริกธรรมดาและการบอกสัญบักษณ์ของเกลียวที่มีระยะพิตช์มาตรฐานอาจจะไม่บอกระยะพิตช์มาให้แต่ถ้าเป็นเกลียวละเอียดหรือเกลียวพิเศษจะบอกระยะพิตช์มาให้ระยะพิตช์ดูได้จากตารางที่ 1

 

 

รูปที่เกลียวเมตริก ISO

 

ตารางที่ 2เกลียวเมตริก ISO

 

 

1.3 เกลียววิตเวอร์ตคือเกลียวระบบอังกฤษที่คิดค้นขึ้นโดย Mr. Joseph Whitworth เป็นชาวอังกฤษเป็นเกลียวที่มีมุมมนโค้งทั้งยอดเกลียวและโคนเกลียวมีมุมรวมยอดเกลียว 55 องศาบอกเกลียวเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วการใช้สัญลักษณ์จะบอกด้วยความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอกของเกลียวเป็นนิ้วและตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและอักษรตัวย่อดังต่อไปนี้

• BSW = (British Standard Whitworth) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ตชนิดหยาบ

• BSF = ( British Standard Fine ) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ตชนิดละเอียด

 

 

รูปที่เกลียววิตเวอร์ต

 

1.4 เกลียวอเมริกัน (American National Thread) คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้วเหมือนเกลียววิตเวอร์ตแต่มีรูปร่างแตกต่างกันตรงมีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาบอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วสัญลักษณ์ในการบอกจะขึ้นด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอกมีหน่วยเป็นนิ้วตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและตามด้วยอักษรตัวย่อดังต่อไปนี้

• NC (National Coarse Thread Series) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดเกลียวหยาบ

• NF (National Fine Thread ) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดละเอียด

• NEF ( National Extra – Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดพิเศษที่ผลิตมาใช้งานเฉพาะอย่างมีจำนวนเกลียวต่อนิ้วที่แตกต่างจากสองชนิดแรกเมื่อเทียบกับขนาดของเกลียวที่โตเท่ากัน

1.5 เกลียวยูนิไฟด์ (Unified Thread ) คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้วเป็นเกลียวที่ดัดแปลงมาจากเกลียวอเมริกันแต่มาทำให้เป็นมาตราฐานสากลของระบบเกลียวสามเหลี่ยมระบบอังกฤษจึงเรียกว่าเกลียว ISO Inch มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาบอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วแต่แตกต่างจากเกลียวอเมริกันตรงสูตรการคำนวณเช่นความลึกเกลียวสัญญาลักษณ์ในการบอกจะขึ้นต้นด้วยความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกมีหน่วยเป็นนิ้วและตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและตามด้วยอักษรตัวย่อดังนี้

• UNC ( Unified National Coarse Thread Series ) หมายถึงเกลียวยูนิไฟด์ชนิดหยาบ

• UNF ( Unified National Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวยูนิไฟด์ชนิดละเอียด

• UNEF ( Unified National Extra – Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวยูนิไฟด์ชนิดเกลียวพิเศษที่ผลิตมาใช้งานเฉพาะอย่างมีจำนวนเกลียวต่อนิ้วแตกต่างจากสองชนิดแรกเมื่อมีขนาดเกลียวโตนอกเท่ากันตัว

 1.6เกลียวสามเหลี่ยมยอดแหลม ( Sharp V – Thread ) คือเกลียวสามเหลี่ยมที่นำมาใช้ในช่วงเริ่มแรกแต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะเป็นเกลียวยอดแหลมไม่มีการตัดยอดตัดโคนเกลียวหรือทำการโค้งมนเกลียวแต่อย่างใดเมื่อใช้งานไปยอดฟันจะหักแตกง่ายทำให้เศษที่หักไปติดในเกลียวทำให้การขันติดขัดเป็นเกลียวพื้นฐานที่เกลียวสามเหลี่ยมชนิดต่างๆนำไปดัดแปลงใช้เป็นเกลียวชนิดต่างๆไม่ว่าจะเป็นเกลียวในระบบเมตริกและระบบอังกฤษ

 

รูปที่ 6เกลียวสามเหลี่ยมยอดแหลม

 

2. เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู

2.1 เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริก ( Tr ) คือมุมที่มีมุมรวมยอดเกลียว 30 องศาเป็นเกลียวที่เหมาะสำหรับใช้ในการส่งกำลังขับเคลื่อนเพราะมีความแข็งแรงกว่าเกลียวสามเหลี่ยมเช่นเกลียวปากกาจับงานและเกลียวเพลานำของเครื่องกลึง

 

รูปที่ 7เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริก

 

2.2เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูอเมริกัน (Acme )คือเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเหมือนเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริกมีมุมรวมยอดเกลียว 29 องศาลักษณะการใช้งานเหมือนกับเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริกมีการกำหนดขนาดเป็นนิ้วและบอกจำนวนเกลียวต่อนิ้วแทนระยะพิตช์ดังนั้นในการคำนวณถ้าต้องการหน่วยเป็นมิลลิเมตรจะต้องคูณด้วย 25.4 มมจึงจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร

3.              เกลียวสี่เหลี่ยม ( Square Thread )

คือเกลียวที่มีมุมเป็น 90 องศาและมีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการส่งกำลังมากๆเช่นเกลียวของปากกาจับงาน

4.              เกลียวฟันเลื่อย ( Buttress Thread )

เหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ต้องการความปลอดภัยเคลื่อนที่ได้สะดวกในทิศทางเดียวอีกทางจะเคลื่อนที่ลงยากเป็นการป้องกันการรูดของเกลียวเหมาะสำหรับใช้ทำอุปกรณ์แม่แรงยกรถหรือของหนักเพราะปลอดภัยกว่าเกลียวชนิดอื่นๆมีมุมรวมยอดเกลียว 30 + 3 องศารวม 33 องศา

 

รูปที่ 8เกลียวฟันเลื่อย

 

5.              เกลียวกลม ( Knuckle Thread )

คือเกลียวที่มีมุมรวม 30 องศายอดเกลียวและโคนเกลียวโค้งมนเป็นเกลียวในระบบอังกฤษมีการบอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วปัจจุบันได้มีการกำหนดขนาดเป็นมิลลิเมตรแต่ระยะพิตช์เป็นนิ้วเหมาะสำหรับงานที่ต้องการการเคลื่อนที่ได้สะดวกเช่นเกลียวที่ขวดน้ำอัดลมเกลียวหลอดไฟฟ้าเป็นต้น

 

รูปที่ 9เกลียวกลม

 

6.              เกลียวหนอนบราวแอนด์ชาร์ป ( Brown and Shape Worm Thread )คือเกลียวหนอนที่ใช้เฟืองหนอนมีมุมยอดเกลียว 29 องศาต่างจากเกลียว Acme ตรงสูตรในการคำนวณ

7.              วิธีการ   Tap   เกลียวในด้วยมือ

วัสดุที่ใช้ทำ   Tap 

จะทำจากเหล็กกล้าผสมคาร์บอน ( carbon steel ) หรือเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง ( high speed steel ) และจะผ่านกระบวนการทำให้แข็ง และอบคืนตัว ดังนั้น  Tap  จะมีความแข็งมากแต่จะหักง่าย

7.1  เครื่องมือทำเกลียวหนึ่งชุดมีสามตัว ประกอบด้วย

7.1.1 ตัวเรียว ( Taper Tap ) แท๊ปตัวนี้จะทำฟันเกลียวให้เรียวตอนปลายประมาณ 6  7 ฟัน แล้วจึงถึงฟันเต็ม เพื่อจะใช้กับงานที่ต้องการทำเกลียวในระยะเริ่มแรกทั้งนี้เพื่อต้องการทำให้ตัวเกลียวในทำงานตัดเบาๆ เป็นเกลียวนำในระยะเริ่มแรกและทำงานได้เที่ยงตรง ถ้างานที่มีขนาดบาง การทำเกลียวก็จะสิ้นสุดที่ตัวที่หนึ่งนี้

7.1.2.  ตัวตาม ( plug  Tap ) แท๊ปตัวนี้จะทำฟันเรียวที่ตอนปลายประมาณ 3  4 ฟัน ใช้ในการทำเกลียวงานที่มีขนาดหนาๆ ซึ่งเป็นตัวที่ใช้ทำเกลียวในระยะขั้นสองหลังจากเกลียวที่ทำนั้นได้ผ่านการใช้ตัวเรียวมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการทำเกลียวในระยะนี้ให้ดีขึ้น และเพื่อป้องกันการหักชำรุดของเครื่องมือทำเกลียวใน ในบางครั้งอาจใช้ตัวที่สองนี้ทำเกลียวในระยะเริ่มแรกได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก

7.1.3.  ตัวสุดท้าย ( Bottoming Tap ) แท๊ปตัวนี้ที่ปลายของฟันเกลียวจะไม่มีเรียวเป็นตัวที่ใช้งานทำเกลียวในขั้นสุดท้าย หลังจากที่ได้ทำเกลียวโดยใช้ตัวสุดท้ายนี้ไปแล้วจะได้สันเกลียวถูกต้องสมบูรณ์ถึงก้นรู


รูปที่  1จ  ส่วนประกอบลักษณะของ Tap หนึ่งชุดมี 3 ตัว

 

7.2.  ด้ามจับแท๊ป ( Tap Wrench )

เครื่องมือที่ใช้จับแท๊ป เพื่อหมุนทำเกลียวในนั้นเราเรียกว่าด้ามจับแท๊ปมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

7.2.1.  ด้ามจับแบบตัวที ( T – Handle tap wrench ) ด้ามจับนี้ใช้กับตัวทำเกลียวในที่มีขนาดเล็กๆ และใช้ทำเกลียวในที่แคบจำกัด

7.2.2.  ด้ามจับแบบปรับแต่งได้ ( Adjustable tap wrench ) ใช้สำหรับจับทำเกลียวในที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่ได้  หลายขนาด และใช้ทำเกลียวงานทั่วๆไป ซึ่งด้ามจับแบบนี้นิยมใช้กันมากดังรูป(ยกมาเฉพาะ ด้ามจับแบบปรับแต่งได้)

 

รูปที่11ด้ามจับแท๊ปแบบปรับแต่งได้

 

การหาขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียวใน สามารถหาได้จากการคำนวณได้ดังนี้

เกลียวเมตริก( metric )หาได้จากสูตร

ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว  = f นอกของเกลียว –P  ระยะพิตช์  มม.

และเมื่อ

M = ระบบเมตริก หน่วย มิลลิเมตร ( มม)

f =  เส้นผ่านศูนย์กลาง

P  =  ระยะพิตช์ ( pitch )

 

 

 

ตัวอย่างที่ 1  ต้องการทำเกลียวขนาด M12 X 1.75 จะต้องใช้ใช้ดอกสว่านเจาะรูขนาดเท่าไร

วิธีทำ ขนาดของรูที่เจาะเพื่อทำเกลียว  =  f นอกของเกลียว  ระยะพิตช์ ( pitch )

                    =  12 – 1.75

=  10.25มม.

นั่นคือต้องให้ดอกสว่านขนาด 10.25 มม. เพื่อทำเกลียวขนาด M12 x 1.75                            ตอบ

 

7.3.  ลำดับขั้นตอนปฏิบัติการทำเกลียวในโดยการใช้แท๊ป สำหรับวิธีการตัดเกลียวด้วยแท๊ปมีลำดับขั้นการทำงานดังต่อไปนี้

7.3.1. จับชิ้นงานด้วยปากกา ( clamp ) ให้มั่นคง และพยายามจับชิ้นงานให้อยู่ในตำแหน่งที่ทำงานได้สะดวก

7.3.2 สวมแท๊ปชนิดตัวเรียว ( taper tap ) ลงในรูให้ได้แนวดิ่ง ควรใช้ฉากขนาดเล็กช่วยตรวจสอบ เพื่อให้แท๊ปตั้งตรง

 

รูปที่ 12 การตั้งลำตัวแท๊ปให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน

7.3.3 ใช้มือจับด้ามแท๊ปให้ใกล้แท๊ปมากที่สุด และเริ่มต้นหมุนแท๊ป หมุนไปตามเข็มนาฬิกา ใช้กำลังกดพอเหมาะอย่าให้เอียง

 

รูปที่ 13 การเริ่มต้นตัดชิ้นงานด้วย   Tap

 

7.3.4. ให้เปลี่ยนตำแหน่งของมือที่ใช้จับด้ามแท๊ปใหม่และให้หมุนไปข้างหน้าประมาณ 1/4 รอบ แล้วหมุนกลับจนเศษโลหะหลุดลงไป แล้วหยอดน้ำมันระบายความร้อน

7.3.5. หมุนข้างหน้าประมาณ 1/4 รอบ  หมุนกลับ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนสุดระยะของแท๊ปหรือสุดระยะของงานที่ต้องการทำเกลียวดังรูปที่ 5

 

รูปที่ 14 การจับด้ามและจับ Tap  หลังจากที่ได้เริ่มต้น

7.3.6. เปลี่ยนตัวทำเกลียวตัวที่สองและตัวที่สาม ตามลำดับ

7.3.7. ทำเกลียวตัวสุดท้ายเสร็จ เมื่อเลิกใช้ต้องเช็ดให้สะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

 

ข้อควรระวังในการทำเกลียวในด้วยมือ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

·       เศษโลหะที่เกิดจากการตัดเกลียวจะมีความคม จะต้องใช้แปรงปัดออก ไม่ควรใช้มือเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้

·       ทำความสะอาดมือ ชิ้นงาน พร้อมทั้งเครื่องมือเสมอ หลังจากที่ทำงานเสร็จทุกครั้ง

·       เวลาหมุนดอก    TAP    ควรหมุน   ¼   รอบแล้วถอยหลังเพื่อป้องกันดอก    TAP   หัก

 

ขนาดรูเกลียวเมตริก

เกลียว

M3

M3.5

M4

M5

M6

M8

M10

M12

M14

M16

M18

M20

M22

M24

รูเจาะในเหล็กกล้า

2.5 2.9 3.3 4.2 5 6.5 8.5 10 12 13.75 15.25 17.25 19.25

20.75

เหล็กหล่อ

2.4

2.8

3.2

4.1

4.8

6.5

8.2

9.9

11.5

13.5

15

17

19

20.5

 

7.4. การทำเกลียวนอกด้วยมือ(Dieing)

ดายส์เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำเกลียวนอกมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปแท่งสี่เหลี่ยม ซึ่งมีรูอยู่ตรงกลางมีเกลียวและมีร่องเป็นคมตัดสามารถตัดหรือทำเกลียวบนชิ้นงานกลมได้

ดายส์สำหรับตัดเกลียวด้วยมือมี 2 ลักษณะคือ

7.4.1ลักษณะกลม(Adjustable Round Dies)และมีการปรับขยายรูที่จะทำเกลียวให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามต้องการ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการควบคุมเส้นผ่าศูนย์กลางของชิ้นงาน และความแน่น(fit) ของเกลียว

 

 

7.4.2  ลักษณะเหลี่ยมแบ่งเป็นชนิดสี่เหลี่ยม(Solid Square Dies) และหกเหลี่ยม(Solid hexagon Dies)หรือแบบผ่าซีก(two piece die) อาจจะเป็นชิ้นเดียวหรือแยกเป็น2 ชิ้นเวลาจะนำมาใช้งานจะต้องนำมาประกอบกันโดยนำไปใส่ไว้ในด้ามดายส์และยึดให้แน่นด้วยสกรู ดายส์แบบนี้ไม่ค่อยมีที่นิยมใช้

พิจารณาลักษณะของดายส์แบบต่างๆ ได้ดังรูปที่ 15

 

รูปที่15 ลักษณะของดายส์แบบต่างๆ

 

ดายส์ชนิดที่มีเกลียวซ้าย โดยจะมีอักษร LH ตีไว้บนตัวดายส์ดายส์ชนิดที่มีเกลียวขวาจะเอาไว้ตัดเกลียวขวา และจะไม่มีอักษรอะไรแสดงให้เห็น การบอกขนาดของดายส์ในระบบอเมริกัน จะแสดงให้เห็นถึงจำนวนเกลียวต่อนิ้วที่อยู่บนลำตัวของดายส์ เช่น 1\ 20 NC หมายถึงดายส์ชนิดนั้นจะมีเกลียวตัด 20 เกลียวต่อนิ้วบนชิ้นงานที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง1\4 นิ้ว และตัดเกลียวหยาบในระบบอเมริกันเป็นเกลียวขวา ซึ่งการกำหนดขนาดจำนวนเกลียวต่อนิ้วจะกำหนดตามมาตรฐานของเกลียวชนิดนั้นๆ สำหรับเกลียวระบบเมตริกจะบอกโดยการใช้อักษร ต่อด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว (มิลลิเมตร) คูณด้วยระยะพิต เช่น M 2.5 x 0.45 อักษร หมายถึงเกลียวในระบบเมตริกมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดของเกลียว 2.5 มิลลิเมตร และระยะพิตเท่ากับ 0.45 มิลลิเมตร

 

รูปร่างของดายส์ เกลียว

1.               คมตัด

2.               ร่องคายเศษโลหะ

3.               ร่องแยก

4.               มุมหลบ

5.               ด้านหน้า

 

 

รูปที่16 รูปร่างของดายส์

ด้ามจับดายส์(Die Stock) จะมีลักษณะในรูปที่ 3 เอาไว้สำหรับจับดายส์และจับตัวดายส์ เมื่อหมุนด้ามจับดายส์ ดายส์ก็จะตัดชิ้นงานให้เป็นเกลียว บางครั้งเราอาจจะเรียกสั้นๆว่า ด้ามจับ (Stock)

รูปร่างของด้ามจับดายส์ ประกอบด้วย

1.               ด้ามหมุน

2.               รูสำหรับสวมดายส์

3.               เกลียวยึดหรือสกรูยึด

 

รูปที่17 รูปร่างด้ามจับดายส์

 

–                    ก่อนที่จะทำการดายส์เกลียว ควรตรวจสอบขนาดของเกลียวและระยะพิทซ์ของเกลียวที่ต้องการทำเกลียวในเพื่อเลือกขนาดของดายส์ได้ถูกต้องด้วยหวีวัดเกลียว(Screw Pitch Gauge)รูปที่ 9

 

การใช้หวีวัดเกลียวนอก

 

รูปที่18  Screw Pitch Gauge

 

รูปที่19 ลักษณะการจับโบล์ทและหวีวัดเกลียววัดเกลียวนอก

 

วิธีการประกอบดายส์กับด้ามจับ

–                    เลือกด้ามจับดอกดายส์ที่สวมกับดายส์ได้พอดีดังรูปที่6

–                    ถ้าเลือกดอกดาย แบบมีร่องผ่า ควรใช้ด้ามจับดายที่มีสกรู 3 ตัวโดยขันสกรูตรงกลางให้ตรงร่องผ่าตัวแรก และขันสกรูตัวริมทั้งสองข้างภายหลัง

–                    การใส่ดอกดายส์แบบไม่มีร่องผ่า ควรขันสกรูตัวกลางเป็นอันดับแรกเช่นเดียวกัน

–                    ลักษณะด้ามจับดายส์ สกรูทีใช้ยึดดอกดายส์ โดยทั่วๆไปเป็นหัวผ่า

–                    ในการปรับสหรูให้ใช้ไขควงขันสกรูหัวผ่า อย่าใช้คีมหรือปากาจับบดซึ่งจะทำให้หัวสกรูชำรุดได้ดังรูปที่ 12

 

รูปที่20 ดายส์และด้ามดายส์ 

 

รูปที่ 20 การยึดดายส์และด้ามจับดายส์

 

 

 

 

การปฏิบัติการตัดเกลียวนอก

–                            ชิ้นงานที่ต้องการดายส์เกลียวขอบที่เริ่มต้นดายส์เกลียวควรใช้ตะใบหรือเครื่องกลึงหลบมุมโดยรอบประมาณ 20 ◦และยาว 2 มิลลิเมตรทั้งนี้เพื่อให้การตัดเกลียวฟันแรกสะดวกและเรียบร้อยยิ่งขึ้นรูปที่ 13

รูปที่ 21 การตะใบชิ้นงานตอนปลายให้มนก่อนจะนำไปตัดเกลียว

–                          การจับดอกดายส์เกลียวในด้ามจับ(Stock) ควรให้ร่องบ่ารับดายส์ อยู่ด้านบนขณะดายส์รูปที่ 14

 

รูปที่ 21

–                    ขณะดายส์เกลียวนอกต้องวางด้ามจับดายส์ให้ตั้งฉากกับชิ้นงาน ละชิ้นงานจะต้องจับด้วยปากกาจับงานให้แน่นไม่เอียงข้างใดข้างหนึ่ง

–                    การดายส์เกลียวนอกชิ้นงานควรจับด้วยปากกาถ้าต้องการยึดให้แน่นหนาควรใช้แผ่นรองเป็นแท่ง-วี ด้ามจับดายส์ และชิ้นงานขณะตัดเกลียวนอกต้องทำมุม 90 ทั้งสองแนว และปลายของงานต้องลบมุมดังรูป

 

รูปที่22

 

 

–                              การตัดเกลียวนอกที่มีบ่าด้วยดอกดายส์ ตัดเกลียวให้บ่าของด้ามจับอยู่ด้านบน และหมุนตัดเกลียวจนกระทั่งผิวด้านหน้าดายส์สัมผัสกับบ่างานเกลียวสุดท้ายที่ถูกคมตัดจะไม่ถึงบ่าชิ้นงานดังรูป

 

รูปที่23

–                  ขณะหมุนด้ามจับดอกดายส์ จะต้องออกแรงกดที่ด้ามทั้งสองข้างเท่าๆกัน และให้ตั้งฉากด้วย ครั้งแรกให้ใช้สองมือจับใกล้ๆ กับตำแหนงของดายส์

–                  หมุนด้ามจับดายส์อย่างช้าๆเมื่อได้เห็นว่าตัดเกลียวไป1/4 รอบให้หมุนกลับเพื่อคายเศษโลหะออกอย่าทำการหมุนติดต่อกันไปจนกระทั่งเสร็จการทำเกลียวดังรูป

 

รูปที่24

–                  ใช้วัสดุหล่อเย็นช่วยในการหล่อเย็นโดยหยอดเพียงเล็กน้อยที่ตอนปลายสุดของชิ้นงาน และระหว่างที่ยังทำการตัดเกลียวให้หยอดอยู่เรื่อยๆ

–                  หลังจากตัดเกลียวไปได้ 2  3ฟัน ให้หยุดตรวจดูว่าเครื่องมือทำเกลียวตั้งได้ฉากกับชิ้นงานหรือไม่ ถ้าไม่ได้ฉากต้องเรียบแก้ไขเสียใหม่

–                  ในการตัดเกลียวนอกในระยะเริ่มแรกจะต้องขยายรูที่ฟันดายส์ให้มีขนาดโตที่สุดก่อน เมื่อได้ทำเกลียวผ่านไปครั้งหนึ่งแล้วจึงค่อยๆลดขนาดของรูที่ฟันดายส์ลง โดยลดให้มีขนาดเล็กตามที่ต้องการ

 

ข้อควรระวังในการทำเกลียวนอกด้วยมือ สามารถพิจารณาได้ดังนี้

·       เศษผงที่เกิดจากการตัดเกลียวจะมีความคม จะต้องใช้แปรงปัดออก ไม่ควรใช้มือเพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้

·        ควรใช้ดอกตัดเกลียวที่ใหม่และมีความคมอยู่เสมอ

·        ทำความสะอาดมือ ชิ้นงาน พร้อมทั้งเครื่องมือเสมอ หลังจากที่ทำงานเสร็จทุกครั้ง

·        ก่อนทำการตัดเกลียวจะต้องตรวจสอบว่าตัวตัดเกลียว(Dies) และตัวจับยึด(DiesStock) ยึดแน่นติดกัน เพราะถ้าหลุดออกจากกันขณะทำการตัดเกลียวอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

 

น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในการตัดเกลียว

                การหล่อลื่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำเกลียวด้วยดายส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกลียวชิ้นงานที่เป็นโลหะ น้ำมันหล่อลื่นที่จะใช้กับโลหะต่างๆมีดังตารางที่  3

 

น้ำมันหล่อลื่นสำหับการตัดโลหะสามัญทั่วๆไป

 

ชนิดของโลหะ

การเลื่อยด้วยมือและเลื่อยกล

การเจาะรู

การคว้านเรียบ

การทำเกลียวดาย

การทำเกลียวแท๊ป

การทำลายบนเครื่องกลึง

เหล็กหล่อ ตัดแห้ง ตัดแห้ง ตัดแห้ง ตัดแห้ง ตัดแห้งหรือน้ำมัน น้ำมันพืช
เหล็กอ่อน น้ำโซดา น้ำโซดาหรือน้ำมันพืช น้ำมันพืช น้ำมันพืช น้ำมันพืช น้ำมันพืช
เหล็กกล้า น้ำโซดา น้ำโซดาหรือน้ำมันพืช น้ำมันพืช น้ำมันพืช น้ำมันพืช น้ำมันพืช
ทองแดง   น้ำโซดาหรือตัดแห้ง น้ำมันหมูหรือน้ำมันก๊าด น้ำมันหรือตัดแห้ง น้ำมันพืช น้ำมันพืช
ทองเหลือง   ตัดแห้ง ตัดแห้ง ตัดแห้ง ตัดแห้งหรือน้ำมัน น้ำมันพืช
บรอนซ์   ตัดแห้งหรือสบู่ ตัดแห้ง ตัดแห้ง   น้ำมันพืช
อลูมิเนียม   น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด น้ำมันก๊าด น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
แก้ว   น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด