ประเพณีปีใหม่ของคนญี่ปุ่น

ในช่วงปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะประดับที่หน้าบ้านด้วย Kadomatsu (ไม้ไผ่สามปล้องมัดรวมกัน) และ Matsu-kazari (ใบสน) และ Shimenawa (เชือก) ซึ่งเป็นประเพณีทางชินโต นอกจากนี้คนญี่ปุ่นจะกิน โมจิ (ข้าวเหนียวตำ) และ กินโอเซะจิเรียวริ (อาหารสำหรับปีใหม่) เป็นประเพณีของคนญี่ปุ่น

Cr. commons.wikimedia.org

การตีระฆังในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า Joya no Kane

Cr. japoland.pl

ในวันที่ 31 เดือนธันวาคม ที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า Oomisoka เป็นวันที่สำคัญของคนญี่ปุ่น และมีการกิน Toshikoshi-soba โซบะข้ามปี เป็นประเพณีที่เริ่มมาตั้งแต่ในสมัยเอโดะ (1603-1867)คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า กินโซบะในวันนี้แล้วอายุจะยืน และที่วัดจะมีการตีระฆังที่เรียกว่า Joya no Kane จำนวน 108 ครั้ง เท่ากับจำนวนกิเลสของมนุษย์ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น ถ้ามีโอกาสไปเที่ยววัดญี่ปุ่นในช่วงนั้น ลองไปร่วมตีระฆังดูดีไหม

ชมพระอาทิตย์แรกของปี Hatsuhi no de

Cr. katsusui.blog32.fc2.com

คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า การชมพระอาทิตย์แรกของปี มีพลังศักดิ์สิทธิ์ ประเพณีเริ่มขึ้นมาในสมัยเมจิ (1868-1912) ขึ้นภูเขาชมพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันที่ 1 มกราคม อธิฐานให้ครอบครัวมีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรงตลอดปี

Hatsu Moude

Cr. hata3smemo.blogspot.com

การไปไหว้วัดหรือศาลเจ้าใน 3 วันแรกของปี ในช่วงนี้ วันที่ 1-2-3 ของเดือนมกราคม คนญี่ปุ่นที่แม้ปรกติไม่ได้ไปวัดหรือศาลเจ้า ก็จะพากันไปไหว้ขอพรกันในช่วงนี้ ผู้หญิงก็พากันแต่งกิโมโนสวยๆ มีบรรยากาศของปีใหม่แบบญี่ปุ่น

วิธีไหว้ขอพรที่ศาลเจ้า ก้มหัวสองรอบ ปรบมือสองรอบ และก้มหัวอีกรอบ ส่วนการขอพรที่วัดให้พนมมือไหว้พระตามปรกติ
ถ้าเป็นศาลเจ้า Meiji Jingu ที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในเขต Harajuku ก็จะเต็มไปด้วยผู้คนมากมายมาไหว้ขอพรในช่วงปีใหม่
ถ้าเป็นวัดก็ต้อง Naritasan Shinshoji ที่อยู่ใกล้สนามบิน Narita และ วัด Kawasaki Daishi ที่อยู่ในอำเภอ Kawasaki ทั้งสองวัดนี้มีชื่อเสียง สถานที่ที่กล่าวชื่อมาทั้งสามแห่ง เชื่อกันว่าถ้าไปไหว้แล้วจะโชคดี การงานดี สุขภาพแข็งแรง

การประดับตกแต่งในช่วงปีใหม่ Shogatsu Kazari

Cr. roninhome.blog15.fc2.com

คนญี่ปุ่นประดับหน้าบ้านช่วงปีใหม่เพื่อต้อนรับเทพเจ้าทางชินโต เชื่อกันว่าเทพเจ้าจะมาสถิตยังที่ที่มีต้นไม้หรือพืชพรรณ จึงมีการทำ Matsu-Kazari โดยใช้ใบสนมาทำเป็นของประดับตกแต่งสำหรับแขวนไว้หน้าบ้าน เหตุเพราะแม้ในฤดูหนาวใบสนก็จะยังคงเขียวสดอยู่เสมอนั่นเอง ส่วน Kadomatsu ไม้ไผ่สามปล้องมัดรวมกัน เป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตรวดเร็วและซื่อตรง ส่วน Shimenawa เป็นเชือกมัดที่แขวนไว้เพื่อต้อนรับเทพเจ้าเช่นกัน

อาหารในช่วงปีใหม่ Osechi Ryori

Cr. www.seejapan.co.uk

เมื่อไปไหว้ที่วัดและศาลเจ้าในช่วงเช้าเสร็จแล้ว ก็จะพากันกลับบ้านไปกินอาหารในช่วงปีใหม่ Osechi Ryori หมายถึงอาหารที่ถวายให้กับเทพเจ้าในช่วง 5 วันแรกของปีใหม่ อาหารที่อยู่ใน Osechi Ryori มีความหมายในทางมงคลต่างๆ มีข้อดีตรงที่ทำไว้ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ แม้กินตอนเย็นแล้วก็ยังอร่อย เก็บไว้ได้หลายวัน ประหยัดแรงแม่บ้าน ไม่ต้องทำกับข้าวในช่วงปีใหม่
ในช่วงนี้ ทั้งเรียวกังและโรงแรมต่างพากันทำ Osechi Ryori สำหรับลูกค้าที่มาพักในช่วงปีใหม่ ลองหาแพ็คเก็จพิเศษๆ สำหรับ ที่พักพร้อม Osechi Ryori ดูดีไหม นอกจากนี้ บางที่ยังมีการบรรเลงดนตรีด้วย Koto หรือ มีการเชิดสิงโตแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า Shishimai

สถานที่แนะนำสำหรับการไปเที่ยวในช่วงปีใหม่

ภูเขาทาคาโอะ Takaosan เดินทางสะดวกจากใจกลางเมืองโตเกียว มีความสูง 599 เมตร ขึ้นภูเขาในวันส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับพระอาทิตย์แรกในวันขึ้นปีใหม่ ถือเป็นการผจญภัยเล็กๆ ต้อนรับปีใหม่ ที่นี่มีทั้งลิฟท์และเคเบิ้ลคาร์ไว้บริการ

จากสถานี Shinjuku ขึ้นสาย JR Chuo Kaisoku ลงที่สถานี Takao ใช้เวลา 50 นาที
Kyoto เกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น มีกิจกรรมช่วงปีใหม่มากมาย

ศาลเจ้า Yasaka Jinja เขต Gion มีเทศกาล Okera Matsuri เริ่มตั้งแต่ 19.30 น. ของวันส่งท้ายปีเก่า และจัดทั้งคืนจนถึงเช้าวันใหม่ ผู้ที่อาศัยอยู่รอบบริเวณศาลเจ้าก็จะมาเขียนคำอธิฐานบนไม้และเผาไฟ จากนั้นนำเชือกมาวางบนไฟ เมื่อเชือกไหม้แล้วนำเชือกกลับบ้านไป เชื่อกันว่า เชือกนี้จะช่วยคุ้มครองป้องกันบ้านจากอัคคีภัย นอกจากนี้ ที่ศาลเจ้ายังมี Ozoni ซุปใส่โมจิที่กินช่วงปีใหม่แล้วเชื่อกันว่าสุขภาพจะแข็งแรง แจกให้กินฟรี อีกด้วย

ในช่วงปีใหม่ คนญี่ปุ่นจะประดับที่หน้าบ้านด้วย Kadomatsu (ไม้ไผ่สามปล้องมัดรวมกัน) และ Matsu-kazari (ใบสน) และ Shimenawa (เชือก) ซึ่งเป็นประเพณีทางชินโต นอกจากนี้คนญี่ปุ่นจะกิน โมจิ (ข้าวเหนียวตำ) และ กินโอเซะจิเรียวริ (อาหารสำหรับปีใหม่) เป็นประเพณีของคนญี่ปุ่น

Cr. commons.wikimedia.org

การตีระฆังในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า Joya no Kane

Cr. japoland.pl

ในวันที่ 31 เดือนธันวาคม ที่คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า Oomisoka เป็นวันที่สำคัญของคนญี่ปุ่น และมีการกิน Toshikoshi-soba โซบะข้ามปี เป็นประเพณีที่เริ่มมาตั้งแต่ในสมัยเอโดะ (1603-1867)คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า กินโซบะในวันนี้แล้วอายุจะยืน และที่วัดจะมีการตีระฆังที่เรียกว่า Joya no Kane จำนวน 108 ครั้ง เท่ากับจำนวนกิเลสของมนุษย์ตามความเชื่อของคนญี่ปุ่น ถ้ามีโอกาสไปเที่ยววัดญี่ปุ่นในช่วงนั้น ลองไปร่วมตีระฆังดูดีไหม

ชมพระอาทิตย์แรกของปี Hatsuhi no de

Cr. katsusui.blog32.fc2.com

คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า การชมพระอาทิตย์แรกของปี มีพลังศักดิ์สิทธิ์ ประเพณีเริ่มขึ้นมาในสมัยเมจิ (1868-1912) ขึ้นภูเขาชมพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันที่ 1 มกราคม อธิฐานให้ครอบครัวมีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรงตลอดปี

Hatsu Moude

Cr. hata3smemo.blogspot.com

การไปไหว้วัดหรือศาลเจ้าใน 3 วันแรกของปี ในช่วงนี้ วันที่ 1-2-3 ของเดือนมกราคม คนญี่ปุ่นที่แม้ปรกติไม่ได้ไปวัดหรือศาลเจ้า ก็จะพากันไปไหว้ขอพรกันในช่วงนี้ ผู้หญิงก็พากันแต่งกิโมโนสวยๆ มีบรรยากาศของปีใหม่แบบญี่ปุ่น

วิธีไหว้ขอพรที่ศาลเจ้า ก้มหัวสองรอบ ปรบมือสองรอบ และก้มหัวอีกรอบ ส่วนการขอพรที่วัดให้พนมมือไหว้พระตามปรกติ
ถ้าเป็นศาลเจ้า Meiji Jingu ที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ในเขต Harajuku ก็จะเต็มไปด้วยผู้คนมากมายมาไหว้ขอพรในช่วงปีใหม่
ถ้าเป็นวัดก็ต้อง Naritasan Shinshoji ที่อยู่ใกล้สนามบิน Narita และ วัด Kawasaki Daishi ที่อยู่ในอำเภอ Kawasaki ทั้งสองวัดนี้มีชื่อเสียง สถานที่ที่กล่าวชื่อมาทั้งสามแห่ง เชื่อกันว่าถ้าไปไหว้แล้วจะโชคดี การงานดี สุขภาพแข็งแรง

การประดับตกแต่งในช่วงปีใหม่ Shogatsu Kazari

Cr. roninhome.blog15.fc2.com

คนญี่ปุ่นประดับหน้าบ้านช่วงปีใหม่เพื่อต้อนรับเทพเจ้าทางชินโต เชื่อกันว่าเทพเจ้าจะมาสถิตยังที่ที่มีต้นไม้หรือพืชพรรณ จึงมีการทำ Matsu-Kazari โดยใช้ใบสนมาทำเป็นของประดับตกแต่งสำหรับแขวนไว้หน้าบ้าน เหตุเพราะแม้ในฤดูหนาวใบสนก็จะยังคงเขียวสดอยู่เสมอนั่นเอง ส่วน Kadomatsu ไม้ไผ่สามปล้องมัดรวมกัน เป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตรวดเร็วและซื่อตรง ส่วน Shimenawa เป็นเชือกมัดที่แขวนไว้เพื่อต้อนรับเทพเจ้าเช่นกัน

อาหารในช่วงปีใหม่ Osechi Ryori

Cr. www.seejapan.co.uk

เมื่อไปไหว้ที่วัดและศาลเจ้าในช่วงเช้าเสร็จแล้ว ก็จะพากันกลับบ้านไปกินอาหารในช่วงปีใหม่ Osechi Ryori หมายถึงอาหารที่ถวายให้กับเทพเจ้าในช่วง 5 วันแรกของปีใหม่ อาหารที่อยู่ใน Osechi Ryori มีความหมายในทางมงคลต่างๆ มีข้อดีตรงที่ทำไว้ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ แม้กินตอนเย็นแล้วก็ยังอร่อย เก็บไว้ได้หลายวัน ประหยัดแรงแม่บ้าน ไม่ต้องทำกับข้าวในช่วงปีใหม่
ในช่วงนี้ ทั้งเรียวกังและโรงแรมต่างพากันทำ Osechi Ryori สำหรับลูกค้าที่มาพักในช่วงปีใหม่ ลองหาแพ็คเก็จพิเศษๆ สำหรับ ที่พักพร้อม Osechi Ryori ดูดีไหม นอกจากนี้ บางที่ยังมีการบรรเลงดนตรีด้วย Koto หรือ มีการเชิดสิงโตแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า Shishimai

สถานที่แนะนำสำหรับการไปเที่ยวในช่วงปีใหม่

ภูเขาทาคาโอะ Takaosan เดินทางสะดวกจากใจกลางเมืองโตเกียว มีความสูง 599 เมตร ขึ้นภูเขาในวันส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับพระอาทิตย์แรกในวันขึ้นปีใหม่ ถือเป็นการผจญภัยเล็กๆ ต้อนรับปีใหม่ ที่นี่มีทั้งลิฟท์และเคเบิ้ลคาร์ไว้บริการ

จากสถานี Shinjuku ขึ้นสาย JR Chuo Kaisoku ลงที่สถานี Takao ใช้เวลา 50 นาที
Kyoto เกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น มีกิจกรรมช่วงปีใหม่มากมาย

ศาลเจ้า Yasaka Jinja เขต Gion มีเทศกาล Okera Matsuri เริ่มตั้งแต่ 19.30 น. ของวันส่งท้ายปีเก่า และจัดทั้งคืนจนถึงเช้าวันใหม่ ผู้ที่อาศัยอยู่รอบบริเวณศาลเจ้าก็จะมาเขียนคำอธิฐานบนไม้และเผาไฟ จากนั้นนำเชือกมาวางบนไฟ เมื่อเชือกไหม้แล้วนำเชือกกลับบ้านไป เชื่อกันว่า เชือกนี้จะช่วยคุ้มครองป้องกันบ้านจากอัคคีภัย นอกจากนี้ ที่ศาลเจ้ายังมี Ozoni ซุปใส่โมจิที่กินช่วงปีใหม่แล้วเชื่อกันว่าสุขภาพจะแข็งแรง แจกให้กินฟรี อีกด้วย

Credit