ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect)

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดการผันผวนในการบริหารงานโซ่อุปทาน คือในกรณีที่สินค้าขาดหรือสินค้าล้นตลาด เหตุผลก็เพราะเราไม่สามารถรู้ความต้องการของลูกค้า หรือความต้องการถูกแปรปรวนหรือผันผวน ก็ด้วยเพราะการที่โซ่อุปทาน (Supply Chain) มีหลายขั้นตอน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดบ้าง เกินบ้าง ก็คือ แต่ละหน่วยงานในโซ่อุปทาน ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างตัดสินใจ ไม่ทำงานเป็นทีมและข้อมูลความต้องการของลูกค้า ไม่สามารถไหลมาถึงปลายทางภายในองค์กรได้

ปัจจัยที่ส่งผลกับ ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect)

1. การประมาณการความต้องการ (Demand Forcasting)
2. การปันส่วนสินค้า (Product Sharing)
3. การจัดชุดคำสั่งซื้อ (Order Baching)
4. การตั้งราคาสินค้า (Product Pricing)
5. การวัดสมรรถนะของการทำงาน

1. การประมาณการความต้องการ (Demand Forecasting)

การประมาณการความต้องการ มีความสำคัญก็เพราะถ้าตลอดทาง ถ้าเราไม่รู้ความต้องการต้นทาง (ของลูกค้า) ทำให้การคาดการณ์ของเราเกิดจากการคาดเดา ถ้าผู้ผลิตปลายทาง สามารถรู้ได้ว่าต้นทาง (ลูกค้า) ต้องการเท่าไหร่ มันก็จะลดความผันผวนลงได้แต่ปัจจุบันนี้ เราไม่รู้ลูกค้า (End User Requirement) ว่าต้องการอะไร เราจะรู้แต่เพียงว่า Retail ต้องการ อะไร Wholetail ต้องการอะไร ขบวนการนี้จึงก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนจากการประมาณความต้องการของสินค้า

วิธีแก้ไขปัญหาการประมาณการความต้องการ

1. แบ่งปันข้อมูล ระบบ IT ต้องเข้ามาช่วย เช่น ลูกค้าหยิบสินค้าปุ๊บสามารถรู้ได้เลย ซึ่งเป็นประวัติการณ์ซื้อจาก end User จริง
2. ข้อมูลจากจุดขาย (Point of Sales) ต้องแชร์กัน
3. ข้อมูลที่แม่นยำที่สุด จะมาจากข้อมูลที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกค้ามากที่สุด (ที่เรียกว่า ปรากฏการณ์แส้ม้า เพราะ เมื่อเราสะบัดแส้ จะเกิดคลื่น ซึ่งคลื่นที่ติดกับตัวเราจะใหญ่ แล้วจะเล็กลงๆๆ นั่นก็คือความแปรปรวนของความต้องการของลูกค้า)

2. การปันส่วนสินค้า (Product Sharing)

เมื่อมีความต้องการสินค้าเข้ามามากกว่ากำลังการผลิต หรือความสามารถการผลิตที่เรามี ซึ่งยอดซื้อที่เรารับเข้ามาจะบิดเบียนความเป็นจริงและเมื่อเราเอาข้อมูลการสั่งซื้อชุดนี้ เพื่อไปเตรียมการสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆ อาจจะผิดพลาดได้ เพราะข้อมูลสั่งซื้อที่ใช้ ไม่ได้มาจากความเป็นจริง

การแก้ไข

1. เราต้องดูประวัติการซื้อขายของลูกค้าแต่ละราย แทนที่จะดูจากยอดคำสั่งซื้อ แล้วจึงนำมาปันส่วน

3. การจัดชุดคำสั่งซื้อ (Order Batching)

บางครั้งลูกค้าสั่งของเข้ามา ซึ่งยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนที่เราจะดำเนินการส่งของ เราจึงกักตุนสินค้าไว้ ไม่ทำการส่ง โดยไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ ทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าของยังขาดอยู่ จึงอาจจะมีการสั่งของซ้ำ

การแก้ไข

1. หาขนาดของการจัดส่งที่หลากหลาย
2. นำ IT เข้ามาใช้
3. จ้าง Out source เพื่อ provide service ให้เราได้หลากหลาย

4. การตั้งราคาสินค้า (Product Pricing)

เนื่องจากการเลือกสินค้าในปัจจุบัน ลูกค้าอาจจะยังไม่ซื้อสินค้านั้นโดยทันที ถ้าลูกค้าไม่มั่นใจว่า สินค้าชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ถูกที่สุด ที่ไหนๆ ก็ไม่ถูกไปกว่านี้อีกแล้ว มันก็เลยกลายเป็นว่าความต้องการของลูกค้าอาจจะไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง เพราะว่าลูกค้าจะรอเพื่อให้ได้ของที่ถูกที่สุด เพราะฉะนั้นปริมาณสินค้าที่อยู่บนชั้นวางสินค้า อาจไม่ได้สะท้อนภาพความต้องการที่แท้จริง

การแก้ไข

1. บอกไปเลยว่าที่นี่ถูกที่สุด การันตีให้เลย ทำให้เขาเกิดความมั่นใจว่าสินค้าเราถูกแล้ว ใช้แล้ว ไม่โดนหลอกแน่ๆ

5. การวัดผลการดำเนินงานของการทำงาน

ในกระบวนการการบริหารการจัดการทั้งหมดตั้งแต่สั่งซื้อสินค้า ผลิต และส่งถึงผู้บริโภค ถ้าแต่ละกระบวนการแย่งกันทำให้เกิด Performance ที่ดีจะกลายเป็นดีใครดีมัน มันไม่ทำให้เกิด Performance ที่เป็นองค์รวม แต่ละหน่วยงานก็จะมองแค่ส่วนงานของเขา ทำให้แค่ส่วนงานของตนเองดีอย่างเดียว ทำให้ข้อมูลบิดเบือนจากความเป็นจริง

การแก้ไข

1. ใช้เป้าหมายขององค์กรเป็นส่วนรวม เป็นภาพใหญ่ และให้แต่ละฝ่ายทำอย่างไรก็ได้ ให้ไปสนับสนุนเป้าหมายหลักขององค์กร โดยให้เห็นถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเป้าหมายใหญ่กับเป้าหมายย่อยของแต่ละแผนก (อาจจะทำ KPI)
2. ให้ทุกคนมองเห็นตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งกิจกรรมในโซ่อุปทานนั้น จะไม่เป็นอิสระต่อกัน เพราะเวลาลูกค้ามองเรา มองว่าตัวองค์กรไม่ดี ไม่ใช่แผนกไหนหรือหน่วยงานไหนไม่ดี เราจึงต้องทำให้เกิด Supply Chain Collaboration หรือการร่วมมือกันในโซ่อุปทาน
3. นำแนวคิดของบัญชีมาใช้ ที่เรียกว่า ABC (Activity Base Costing) คิดต้นทุนตามฐานกิจกรรม

สรุปก็คือ ประเด็นสำคัญในการแก้ไข ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect) คือ การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management)

Credit