ยุคเฮอัน

images

 

 

          ยุคเฮอัน หรือ เฮอัง ประเทศญี่ปุ่นได้สร้างอารยธรรมใหม่ ๆ ขึ้นพร้อม ๆ กับการล่มสลายของนะระ เมื่อเมืองหลวงใหม่ซึ่งเลียนแบบเมืองหลวงของประเทศจีน”เฮอังเกียว” ได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ.1337 (ค.ศ. 794) การย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองเฮอังเกียว นับเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยเฮอันซึ่งดำรงอยู่ยาวนาน รุ่งเรือง และยิ่งใหญ่ที่สุดสมัยหนึ่งของการพัฒนาการในประเทศญี่ปุ่น

 

รูปแบบบ้านเรือนสมัยเฮอัน

รูปภาพ1

           การติดต่อกับประเทศจีนหยุดชะงักลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 9 และอารยธรรมญี่ปุ่นเริ่มที่จะมีลักษณะและรูปแบบเป็นของตนเอง นับเป็นกระบวนการของการผสมกลมกลืนและการปรับเปลี่ยน โดยที่สิ่งต่าง ๆ ซึ่งญี่ปุ่นรับมาจากภายนอกค่อย ๆ กลายเป็นรูปแบบของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย

อักษรคะตะคะนะ อักษรฮิระงะนะ

                           รูปภาพ2                      รูปภาพ3

 
การพัฒนาของตัวอักษรญี่ปุ่นในสมัยเฮอัน ความซับซ้อนของการเขียนของจีนทำให้นักเขียนและพระคิดค้นรูปพยางค์ขึ้นสองระบบโดยยึดรูปแบบอย่างของจีน ภายในกลางสมัยเฮอัน ได้มีการปรับปรุงพยัญชนะที่เรียกกันว่า อักษรฮิระงะนะ และ อักษรคะตะคะนะ และ
นำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง เช่น การนำมาเขียนในวรรณคดีเรื่อง นิทานเกนจิ

นิทานเกนจิ

รูปภาพ4

          การเขียนในวรรณคดีเรื่องนิทานเกนจิ นับเป็นการเปิดทางให้แก่งานเขียนที่มีรูปแบบเป็นของญี่ปุ่นอย่างแท้จริง และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแทนถ้อยคำสำนวนที่ยืมมาจากภาษาจีน

            ในยุคสมัยเฮอัง มีการใช้ชีวิตในเมืองหลวงเป็นชีวิตที่หรูหราและสะดวกสบาย ขณะที่ราชสำนักใช้เวลาทั้งหมดไปกับศิลปะ
และความสุขทางสังคม อำนาจที่เคยมีเหนือกลุ่มที่มีอิทธิพลทางการทหารในหัวเมืองต่างๆจึงเริ่มจะคลอนแคลน อำนาจในการควบคุมอาณาจักรอย่างมีประสิทธิภาพได้เสื่อมลงในที่สุด