คุณรู้หรือไม่ว่า นอกจากประเทศไทยที่มีความเชื่อเกี่ยวกับฤกษ์ยามในการพิธีกรรม หรือทำกิจวัตรต่าง ๆ ในแต่ละวันแล้ว ประเทศญี่ปุ่นเอง ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีความเชื่อเรื่องพวกนี้ด้วย

images (2)

           ปฏิทินญี่ปุ่นโบราณ จะเรียกกันว่า โรกุโย (六曜) หรือ รกกิ (六輝) แปลว่า 6วัน หรือ 6วันดี โดยนำมาปรับใช้กับปฏิทินแบบสากล และจะเห็นได้ว่า วันตามปฏิทินโบราณมีทั้งหมด 6 วัน และจะวนซ้ำกลับมาตลอด
     rokuyo3
มาดูความหมายของทั้ง 6 วันกันค่ะ
  1. เซนโช หรือ เซนคะจิ (先勝) ให้ความหมายว่า ตลอดช่วงเช้าจะเป็นเวลาดี เหมาะแก่การเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ช่วงบ่ายสองจนถึงหกโมงเย็นจะเป็นฤกษ์ไม่ดี อัปมงคล
  2. โทะโมะฮิขิ (友引) ให้ความหมายว่า ช่วงเช้าจะดี ช่วงบ่ายจะไม่ดี และช่วงเวลาเย็นจะเป็นฤกษ์ดีที่สุด แต่มีข้อแม้อยู่ว่า วันนี้ห้ามจัดงานศพ ที่ญี่ปุ่นจะปิดเมรุในวันนี้
  3. เซนบุ หรือ เซนมะเคะ (先負) ให้ความหมายว่า ช่วงเช้าจะฤกษ์ไม่ดี ไม่ควรทำกิจการใด ๆ ช่วงบ่ายจะดี
  4. บุสึเมะสึ (仏滅) ให้ความหมายว่า ว่ากันว่าเป็นวันที่ฤกษ์แย่ที่สุด ไม่ควรจัดงานอะไรเลย นอกจากงานพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
  5. ไทอัน (大安) ให้ความหมายว่า ถือว่าเป็นวันดีที่สุด ในการทำกิจการต่าง ๆ จะประสบแต่ความสำเร็จ นักการเมืองญี่ปุ่นจะเลือกเอาวันนี้เป็นวันจัดตั้งรัฐบาลด้วย
  6. ชักโค (赤口) ให้ความหมายว่า วันนี้ไม่นิยมทำอะไรนอกจากอุทิศส่วนบุญให้แก่คนตายในวันครบรอบเพราะเป็นวันไม่ดี มีแค่ช่วงเที่ยงของวันเท่านั้นที่ดี (11:00 – 13:00)
จากปฏิทินโบราณเห็นได้ชัดว่า คนญี่ปุ่นก็เชื่อเรื่องโชคลาง และวันต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ไม่ต่างจากคนประเทศอื่น ๆ ฉะนั้นเมื่อเราไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วมีรู้เรื่องวันทั้งหก ก็จะสะดวกต่อการไปไหนมาไหนไม่น้อยเลย