3.1    เครื่องเจาะ

 

งานเจาะจัดเป็นกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน  ที่มีลักษณะการทำงานแบบง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน แต่มีความสำคัญมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานโลหะ  การเจาะเป็นกระบวนการตัดเฉือนวัสดุงานออก  โดยใช้ดอกสว่าน  รูที่ได้จากการเจาะด้วยดอกสว่านจะมีลักษณะเป็นรูกลม  เช่น  รูยึดเหล็กดัดประตูหน้าต่างบานพับ  กลอนประตูบ้าน  ตลอดจนชิ้นส่วนรถจักรยาน  รถยนต์ต่าง ๆ  มีรูสำหรับการจับยึดมากมาย

ในการเจาะรูบนชิ้นงานสามารถทำได้ด้วยเครื่องจักรกลหลายชนิด  เช่น  การเจาะรูบนเครื่องกลึง  เครื่องกัด  เป็นต้น  แต่ในการเจาะรูที่ประหยัด  รวดเร็ว  และนิยมใช้กันมากที่สุด  คือ  การเจาะรูด้วยเครื่องเจาะ  ดังนั้น  เครื่องจักรกลพื้นฐานที่จะกล่าวในบทนี้  คือ เครื่องเจาะ

3.1.1                   ชนิดของเครื่องเจาะ

เครื่องเจาะมีหลายชนิดแต่สามารถแบ่งออกได้ดังนี้  คือ  เครื่องเจาะตั้งพื้น  เครื่องเจาะแบบรัศมี  และเครื่องเจาะในงานอุตสาหกรรม

3.1.1.1                เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ  (Bench – model Sensitive Drilling Machine)

เป็นเครื่องเจาะขนาดเล็กเจาะรูขนาดไม่เกิน  13 มม. จะมีความเร็วรอบสูง  ใช้เจาะงานที่มีขนาดรูเล็ก ๆ ทั่ว ๆ ไป การส่งกำลังโดยทั่วไปจะใช้สายพานและปรับความเร็วรอบด้วยล้อสายพาน  2-3  ขั้น

3.1.1.2                เครื่องเจาะตั้งพื้น  (Plan Vertical  Spindle  Drilling  Machine)

เป็นเครื่องเจาะขนาดใหญ่และเจาะรูบนชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่  เจาะรูได้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่สุดเท่าที่ดอกสว่านมี  และใช้งานอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางการส่งกำลังปกติจะใช้ชุดเฟืองทด  จึงสามารถปรับความเร็วรอบได้หลายระดับ  และรับแรงบิดได้สูง

3.1.1.1                เครื่องเจาะรัศมี  (Radial  Drilling  Machine)

เป็นเครื่องเจาะขนาดใหญ่และเจาะรูบนชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องเจาะตั้งพื้น  โดยที่หัวจับดอกสว่านจะเลื่อนไป-มาบนแขนเจาะ  (Arm)  จึงสามารถเจาะงานได้ทุกตำแหน่ง  โดยติดตั้งงานอยู่กับที่  การส่งกำลังปกติจะใช้ชุดเฟืองทด

3.1.1.2                เครื่องเจาะหลายหัว  (Multiple-spindle or Gang-type Drilling Machine)

เป็นเครื่องเจาะที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ  เครื่องเจาะจะมีหลายหัวจับ  ดังนั้นจึงสามารถจับดอกสว่านได้หลายขนาด  หรือจับเครื่องมือตัดอื่น ๆ เช่น รีมเมอร์  หรือหัวจับทำเกลียวใน  จึงทำงานได้อย่างรวดเร็ว

3.1.1.1                เครื่องเจาะแนวนอน  (Horizontal  Drilling  Machine)

เป็นเครื่องเจาะที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำงานได้หลายลักษณะ  ทั้งการเจาะรู  การคว้านรู  การกัดและการกลึง  มักจะพบในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

3.1.1          ส่วนประกอบที่สำคัญและหน้าที่การใช้งานของเครื่องเจาะ

3.1.1.1                            ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องเจาะตั้งโต๊ะ

3.1.1.1.1               ฐานเครื่อง  (Base)  ทำด้วยเหล็กหล่อ  เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่องจะยึดติดแน่นบนโต๊ะป้องกันการสั่นสะเทือนในขณะปฏิบัติงาน

3.1.1.1.1               เสาเครื่องเจาะ  (Column)  จะเป็นเหล็กรูปทรงกระบอกกลวง  เป็นส่วนที่ยึดติดกับฐานเครื่อง  เพื่อรองรับชุดหัวเครื่องและรองรับโต๊ะงาน

3.1.1.1.2               โต๊ะงาน  (Table)  ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็กท่อ  เป็นส่วนที่รองรับชิ้นงานที่จะนำมาเจาะหรืออาจรองรับอุปกรณ์จับยึดสำหรับจับยึดชิ้นงาน  เช่น  ปากกาจับงาน  เป็นต้น  สามารถเลื่อนขึ้นลงได้บนเสาเครื่องด้วยการหมุนแขนส่งกำลังด้วยชุดเฟืองสะพาน  เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการก็สามารถยึดให้แน่นกับเสาเครื่องได้

3.1.1.1.3               ชุดหัวเครื่อง  (Drilling  Head)  จะอยู่บนสุดของเครื่องเจาะ  ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญดังนี้

–                   มอเตอร์ส่งกำลัง  (Motor)

–                   สายพานและล้อสายพานส่งกำลัง  (Belt & Pulley)

–                   ฝาครอบ  (Pulley  Guard)  มีไว้ครอบสายพานเพื่อป้องกันอันตราย

–                   หัวจับดอกสว่าน  (Drill  Chuck)  ใช้จับดอกสว่านก้านตรง  ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน  ½  นิ้ว  หรือประมาณ  12.7  มม.

–                   แขนหมุนป้อนเจาะ  (Hand  Feed  Level)

–                   สวิตซ์ปิดเปิด  (Switch)

3.1.1.1                            ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องเจาะตั้งพื้น  สว่านตั้งพื้นจะมีส่วนประกอบที่สำคัญเหมือนเครื่องเจาะแบบตั้งโต๊ะ  จะต่างกันตรงขนาดและความสามารถในการเจาะรูและระบบส่งกำลัง  ซึ่งมีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

3.1.1.1.1               ฐานเครื่อง  (Base)  ทำด้วยเหล็กหล่อ  เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่องจะวางอยู่บนพื้นโรงงาน

3.1.1.1.2               เสาเครื่องเจาะ  (Column)  จะเป็นเหล็กรูปทรงกระบอกกลวง  เป็นส่วนที่ยึดติดกับฐานเครื่อง  เป็นส่วนที่รองรับชุดหัวเครื่องและรองรับโต๊ะงาน

โต๊ะงาน  (Table)  ส่วนใหญ่ทำด้วยเหล็ก  มีทั้งที่เป็นรูปวงกลมหรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเป็นส่วนที่รองรับชิ้นงานที่ต้องการเจาะ  หรืออาจจะรองรับอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน  เช่น  ปากกาจับงาน

3.1.1.2.1                        ฐานเครื่อง  (Base) เป็นส่วนที่ติดตั้งอยู่กับพื้นโรงงาน  ทำด้วยเหล็กหล่อ  เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักทั้งหมดของเครื่อง

3.1.1.1.1                        เสาเครื่อง  (Columm) มีลักษณะเป็นเสากลมใหญ่กว่าเสาเครื่องเจาะธรรมดา  จะยึดติดอยู่กับฐานเครื่อง  จะเป็นที่เคลื่อนขึ้นลงและจับยึดของแขนรัศมี

3.1.1.1.2                        แขนรัศมี  (Radial  Arm)  สามารถเลื่อนขึ้นลงได้บนเสาเครื่อง  และสามารถหมุนรอบเสาเครื่องได้เพื่อหาตำแหน่งเจาะงาน  เป็นส่วนที่รองรับชุดหัวเครื่อง

3.1.1.1.3                        ชุดหัวเครื่อง  (Drilling  Head)  อยู่บนรัศมี  สามารถเลื่อนเข้าออกได้ตามความยาวของแขนรัศมี  เพื่อหาตำแหน่งเจาะรู

3.1.1.1.4                        แกนเพลา  (Spindle)  เป็นรูปทรงกระบอก  ภายในเป็นรูเรียวสำหรับจับยึดก้านเรียวของหัวจับดอกสว่าน  หรือจับก้านเรียวของดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่

3.1.1.1.5                        โต๊ะงาน  (Table)  เป็นอุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่บนฐานเครื่อง  จะมีร่องตัว-ที  เพื่อใช้จับยึดชิ้นงานโดยตรง  หรือใช้สำหรับจับยึดปากกาจับงาน  หรืออุปกรณ์อื่น ๆ

3.1.1.1.6                        มอเตอร์  (Motor)  เป็นต้นกำลังที่ส่งกำลังไปหมุนแกนเพลาเพื่อหมุนดอกสว่านเจาะงานหรือส่งกำลังเพื่อขับเคลื่อนส่วนต่าง ๆ อัตโนมัติ  เนื่องจากชิ้นส่วนแต่ละส่วนมีขนาดใหญ่

3.1.2                   เครื่องมือ  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ

3.1.2.1                ดอกสว่าน  (Drills)

 

 

https://sites.google.com/site/prakasittid3qqq/si-xen-si/kheruxng-ceaa