S__3391495

        ตุ๊กตาพื้นบ้านแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ปรากฏเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในชนบทหรือใจกลางของเมืองหลวง  ตุ๊กตาตัวนี้มักจะถูกผูกห้อยแขวนไว้กับชายหลังคาบ้านหรือแขวนประดับไว้บนขอบ หน้าต่างหรือบนกิ่งไม้ เชื่อกันว่า หากแขวนมันไว้ จะทำให้รุ่งขึ้นของวันพรุ่งนี้ ท้องฟ้าจะปลอดโปร่งแจ่มใส  แน่นอนว่า ตุ๊กตาตัวนี้ก็คือ “ตุ๊กตาไล่ฝน” หรือภาษาญี่ปุ่นคือ てるてる坊主(teru teru bouzu)
large

ตุ๊กตาไล่ฝน เป็นหนึ่งในตุ๊กตาวัฒนธรรมพื้นบ้านของญี่ปุ่น  คำว่า เทรุ (teru) แปลว่า ส่องประกาย (ซึ่งหมายถึงแสงพระอาทิตย์)  ส่วนคำว่า โบซุ (bozu) แปลว่า พระภิกษุ (แต่มีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “หัวโล้น” เช่นกัน)  ลักษณะของตุ๊กตาไล่ฝน มีขนาดเล็กประมาณ 5 -8 นิ้ว สร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีง่าย ๆ  โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้ผ้าหรือกระดาษสีขาวมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วหาวัสดุทรงกลมหรือใยฝ้ายมาทำเป็นส่วนศีรษะ ม้วนขึ้นเป็นก้อนกลมบรรจุไว้ตรงกลาง จากนั้นก็จะรวบผ้าเข้าหากันแล้วผูกด้วยเส้นเชือกหรือเส้นด้าย  ต่อมาจึงค่อยวาดรายละเอียดในส่วนศีรษะ เช่น ดวงตา  จมูก และ ปาก

1_14965

ตุ๊กตาไล่ฝน-1-1

       ก่อนที่จะนำไปห้อยแขวนไว้กับชายหลังคาบ้านหรือริมขอบหน้าต่าง  หลังจากนั้น จึงจะตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้วันรุ่งขึ้นมีท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งแจ่มใส คติความเชื่อแบบนี้ จึงเป็นที่นิยมมากของชาวไร่ชาวนาที่ต้องไปหว่านข้าวไถนาในยามที่ท้องฟ้า อากาศสดใส  ในขณะที่เด็ก ๆ ก็จะชอบอกชอบใจ เพราะหากเช้าวันพรุ่งนี้ไม่มีฝนตก  จะทำให้พวกเด็ก ๆ สามารถเดินทางไปทัศนศึกษา แข่งขันกีฬา รวมไปถึงการได้ไปท่องเที่ยวกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข